พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 ( เริ่มใช้บังคับวันที่ 22 กรกฎาคม 2521) ได้กำหนดไว้ว่า
คนต่างด้าวจะทำงานได้เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมการจัดหางานหรือเจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีมอบหมายเท่านั้น
คนต่างด้าว หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
ทำงาน หมายถึง การทำงานโดยใช้กำลังกายหรือความรู้ด้วยประสงค์ว่าจ้างหรือประโยชน์อื่นใด
หรือไม่ก็ตาม
พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในราชอาณาจักร ดังต่อไปนี้
1. บุคคลในคณะผู้แทนทางทูต
2. บุคคลในคณะผู้แทนทางกงสุล
3. ผู้แทนของประเทศสมาชิก และพนักงานขององค์การสหประชาชาติ และทบวงการชำนาญพิเศษ
4. คนรับใช้ส่วนตัว ซึ่งเดินทางจากต่างประเทศเพื่อมาทำงานประจำอยู่กับบุคคลในข้อ 1, 2, 3
5. บุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจตามความตกลงที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
6. บุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจเพื่อประโยชน์ในทางการศึกษา วัฒนธรรม ศิลปการกีฬา หรือกิจการอื่น (พระราชกฤษฎีกากำหนด ให้คนต่างด้าวซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจบางประการในราชอาณาจักรไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว
พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2522)
7. บุคคลซึ่งรัฐบาลอนุญาต ให้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจอย่างหนึ่งอย่างใด
คนต่างด้าวที่มีสิทธิขออนุญาตทำงานได้ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. คนต่างด้าวทั่วๆ ไป (ตามมาตรา 7) หมายถึง
1.1. คนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
1.2. คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ( NON -IMMIGRANT VISA) เช่น
เข้ามาทำธุรกิจหรือเข้ามาศึกษา
2. คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการ ส่งเสริมการลงทุน หรือตามกฎหมายอื่น
ที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับคนต่างด้าวในลักษณะเดียวกัน เช่น พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม (ตามมาตรา 10)
3 . คนต่างด้าวตามมาตรา 12 หมายถึง คนต่างด้าว 4 ประเภท คือ
3.1. คนต่างด้าวที่ถูกเนรเทศตามกฎหมายว่าด้วยการเนรเทศ ซึ่งได้รับการผ่อนผันให้ไปประกอบอาชีพ ณ ที่แห่งใด แทนการเนรเทศหรือ
อยู่ในระหว่างรอการเนรเทศ
3.2. คนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และอยู่ในระหว่างรอการส่งกลับออก
นอกราชอาณาจักร เช่น พวกญวณอพยพ , ลาวอพยพ , เนปาลอพยพ , พม่าพลัดถิ่น หรือคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2539 เป็นต้นไป
3.3. คนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักร แต่ไม่ได้รับสัญชาติไทย ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 หรือ
ตามกำหนดอื่น เช่น บุคคลที่เกิดภายหลังวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว มีผลบังคับใช้
3.4. คนต่างด้าวโดยผลของการถูกถอนสัญชาติ ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515
4. ประเภทตลอดชีพ หมายถึง คนต่างด้าวผู้ซึ่งได้รับอนุญาตทำงานตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 322 ข้อ 10 (1) มีสาระสำคัญว่าใบอนุญาตที่ออกให้แก่คนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและทำงานอยู่แล้วก่อนวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ให้ใช้ได้ตลอดชีวิตของคนต่างด้าวนั้น เว้นแต่คนต่างด้าวจะเปลี่ยนอาชีพใหม่
ประเภทคนต่างด้าวที่มีสิทธิขออนุญาตทำงานได้
1. คนต่างด้าวทั่วๆ ไป (ตามมาตรา 7) หมายถึง คนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ( NON -IMMIGRANT VISA) เช่น เข้ามาทำธุรกิจหรือเข้ามาศึกษา
2. คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือตามกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับคนต่างด้าวในลักษณะเดียวกัน เช่น พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม (ตามมาตรา 10)
3. คนต่างด้าวตามมาตรา 12 หมายถึง คนต่างด้าว 4 ประเภท คือ
3.1 คนต่างด้าวที่ถูกเนรเทศตามกฎหมายว่าด้วยการเนรเทศ ซึ่งได้รับการผ่อนผันให้ไปประกอบอาชีพ ณ ที่แห่งใด แทนการเนรเทศหรืออยู่ในระหว่างรอการเนรเทศ
3.2 คนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และอยู่ในระหว่างรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักร เช่น พวกญวณอพยพ , ลาวอพยพ , เนปาลอพยพ , พม่าพลัดถิ่น หรือคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2539 เป็นต้นไป
3.3 คนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักร แต่ไม่ได้รับสัญชาติไทย ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 หรือตามกำหนดอื่น เช่น บุคคลที่เกิดภายหลังวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว มีผลบังคับใช้
3.4 คนต่างด้าวโดยผลของการถูกถอนสัญชาติ ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515คำขอรับใบอนุญาตทำงาน
1. คนต่างด้าวที่ยังไม่ได้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร คนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงาน ให้ปฏิบัติดังนี้
1.1. ติดต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยประจำประเทศที่คนต่างด้าวอาศัยอยู่ เพื่อขอคำแนะนำและขออนุญาตเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ( NON-IMMIGRANT VISA)
1.2. ให้นายจ้างในราชอาณาจักรยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานแทน (แบบ ตท. 3) และเมื่อได้รับแจ้งการอนุญาตแล้ว คนต่างด้าวจึงเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อรับใบอนุญาตและทำงานได้
2. คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว คนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงาน ต้องปฏิบัติดังนี้
2.1. คนต่างด้าวที่จะขออนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือตามกฎหมายอื่น เช่น พระราชบัญญัตปิโตรเลียม พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม ต้องยื่นขอรับใบอนุญาตทำงาน (แบบ ตท. 1) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เข้ามาในราชอาณาจักรหรือ 30 วัน นับแต่วันที่ทราบการได้รับอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายนั้น ๆ โดยในระหว่างขอรับใบอนุญาตให้ผู้ยื่นคำขอทำงานไปพลางก่อนได้ ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท (มาตรา 35)
2.2. คนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยว หรือผู้เดินทางผ่าน และไม่เป็นบุคคลที่ขาดคุณสมบัติ หรือต้องห้ามตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด จะทำงานได้ต่อเมื่อได้รับ ใบอนุญาตทำงานแล้วเท่านั้น โดยยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานตามแบบ ตท. 2 ( มาตรา 7, 11) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 34)
2.3. คนต่างด้าวฝ่าฝืนการทำงาน ซึ่งห้ามโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพ และวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
คุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของคนต่างด้าวที่จะขอใบอนุญาตทำงานได้
กำหนดโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามและเงื่อนไข ของคนต่างด้าว ซึ่งจะขอรับใบอนุญาตทำงาน ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2522 มีดังนี้
1. มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
2. ต้องไม่ขอทำงานที่ห้ามไว้ในพระราชกฤษฎีกา (39 อาชีพ)
3. มีความรู้และความสามารถในการทำงานตามที่ขอรับใบอนุญาต ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการอันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง หรือโรคพิษสุราเรื้อรัง ไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว ภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต
4. คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองเพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วน มีระยะเวลาการทำงานไม่เกิน 15 วัน จะทำงานได้เมื่อได้มีหนังสือแจ้งให้อธิบดี หรือเจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีมอบหมายทราบ (มาตรา 7) งานอันจำเป็นและเร่งด่วน ออกโดยระเบียบกรมการจัดหางานว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2537 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2537 จะอนุญาตให้ คนต่างด้าวทำงานในหมวดอาชีพต่าง ๆ แต่ไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
งานบริหารงานและวิชาการ งานด้านเทคนิค งานจัดหางานต่างประเทศ งานเบ็ดเตล็ด งานที่อธิบดี หรือเจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีมอบหมาย เห็นควรรับแจ้งเป็นกรณีพิเศษตามความจำเป็นในขณะนั้น
5. คนต่างด้าวตามมาตรา 12 ส่วนใหญ่เป็นการขออนุญาตตามมาตรา 12 (2) คือ คนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และอยู่ในระหว่างรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักร ต้องปฏิบัติดังนี้
5.1 กรณีประสงค์จะทำงานภายในเขตจังหวัด ให้ยื่นคำขอตามแบบ ตท. 8 พร้อมบัตรอนุญาตออกโดยกระทรวงมหาดไทย
5.2 กรณีขออนุญาตออกนอกพื้นที่ คนต่างด้าวต้องยื่นขออนุญาตต่อผู้ว่าราชการจังหวัดที่ตนอยู่ เพื่ออนุญาตออกนอกเขตจังหวัด และหากจะทำงานคนต่างด้าวจะต้องขอรับใบอนุญาตทำงาน (แบบ ตท. 8) จึงจะทำงานได้
ปัจจุบันรัฐมนตรีได้ออกประกาศกำหนดงานที่ให้คนต่างด้าวตามมาตรา 12 ทำงานได้รวม 27 อาชีพ และให้คนต่างด้าวสัญชาติ พม่า ลาว และกัมพูชา ที่เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ซึ่งได้รับอนุญาตให้ ้ประกันตัวจากพนักงาน เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2543 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2543 และอยู่ระหว่างรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักร จำนวน 106,684 คน ทำงานได้เฉพาะงานกรรมกร ในพื้นที่ 37 จังหวัด 18 ประเภทกิจการ
การกำหนดงานในอาชีและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ
บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา |
|
(1) |
งานกรรมกร |
(2) |
งานกสิกรรรม งานเลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรืองานประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญ งานเฉพาะสาขา หรืองานงานควบคุมดูแลฟาร์ม |
(3) |
งานก่ออิฐ งานช่างไม้ หรืองานก่อสร้างอื่น |
(4) |
งานแกะสลักไม้ |
(5) |
งานขับขี่ยานยนต์ หรืองานขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องกล ยกเว้นงานขับขี่เครื่องบินระหว่างประเทศ |
(6) |
งานขายของหน้าร้าน |
(7) |
งานขายทอดตลาด |
(8) |
งานควบคุม ตรวจสอบหรือให้บริการบัญชี ยกเว้น งานตรวจสอบภายในชั่วคราว |
(9) |
งานเจียระไน หรือขัดเพชรหรือพลอย |
(10) |
งานตัดผม งานดัดผม หรืองานเสริมสวย |
(11) |
งานทอผ้าด้วยมือ |
(12) |
งานทอเสื่อ หรืองานทำเครื่องใช้ด้วยกก หวาย ปอ ฟาง หรือเยื่อไม้ไผ่ |
(13) |
งานทำกระดาษสาด้วยมือ |
(14) |
งานทำเครื่องเขิน |
(15) |
งานทำเครื่องดนตรีไทย |
(16) |
งานทำเครื่องถม |
(17) |
งานทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก |
(18) |
งานทำเครื่องลงหิน |
(19) |
งานทำตุ๊กตาไทย |
(20) |
งานทำที่นอนผ้าห่มนวม |
(21) |
งานทำบัตร |
(22) |
งานทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ |
(23) |
งานทำพระพุทธรูป |
(24) |
งานทำมีด |
(25) |
งานทำร่มด้วยกระดาษหรือผ้า |
(26) |
งานทำรองเท้า |
(27) |
งานทำหมวก |
(28) |
งานนายหน้า หรืองานตัวแทน ยกเว้น งานนายหน้าหรืองานตัวแทนในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ |
(29) |
งานในวิชาชีพวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธา ที่เกี่ยวกับงานออกแบบและคำนวณ จัดระบบ วิจัย วางโครงการ ทดสอบ ควบคุมการก่อสร้าง หรือให้คำแนะนำ ทั้งนี้ไม่รวมที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษ |
(30) |
งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับงานออกแบบเขียนแบบ ประมาณราคา อำนวยการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ |
(31) |
งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย |
(32) |
งานปั้นหรือทำเครื่องปั้นดินเผา |
(33) |
งานมวนบุหรี่ด้วยมือ |
(34) |
งานมัคคุเทศก์ หรืองานจัดนำเที่ยว |
(35) |
งานเร่ขายสินค้า |
(36) |
งานเรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมือ |
(37) |
งานสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ |
(38) |
งานเสมียนพนักงานหรืองานเลขานุการ |
(39) |
งานให้บริการทางกฎหมายหรืออรรถคดี |
ข้อปฏิบัติของนายจ้างที่จะจ้างคนต่างด้าวทำงาน
หน้าที่ของคนต่างด้าวและนายจ้าง
- แจ้งภายใน 15 วัน
รับคนต่างด้าวเข้าทำงานให้คนต่างด้าวย้ายสถานที่ทำงานคนต่างด้าวออกจากงาน
ระยะเวลาการอนุญาต
1. คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA) จะพิจารณาให้ตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 1 ปี และให้มีอายุเท่าระยะเวลาที่คนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรในขณะออกใบอนุญาต
2. ใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือตามกฎหมายอื่น (มาตรา 10) จะได้รับอนุญาตตามระยะเวลาซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอนุญาต
3. ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว ตามมาตรา 12 ซึ่งสามารถทำงานได้ 27 อาชีพตามที่รัฐมนตรีกำหนดมีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
4. กรณีคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวโดยไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน ให้มีอายุสามสิบวันนับแต่วันออกใบอนุญาต
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาต
1. เป็นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและการจ้างงาน หรือไม่
2. กิจการนั้นส่งเสริมการนำรายได้เข้าประเทศหรือไม่ เช่น กิจการส่งออก หรือการ ท่องเที่ยว
3. มีการนำวิทยาการสมัยใหม่เข้ามาใช้ และถ่ายทอดให้คนไทย
4. เป็นงานที่คนไทยยังทำไม่ได้หรือขาดแคลน
5. ไม่เป็นอาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำตามพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 จำนวน 39 อาชีพ
6. ปฏิบัติตามระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2537
คนต่างด้าวผู้ใดฝ่าฝืนทำงานต้องห้าม 39 อาชีพ หรือคนต่างด้าวตามมาตรา 12 ถ้าทำงานนอกเหนือจากกำหนด 27 อาชีพ มีความผิด จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การต่ออายุใบอนุญาต
1. คนต่างด้าวจะต้องยื่นเรื่องขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนที่ใบอนุญาตจะหมดอายุ
2. ถ้าหากคนต่างด้าวยื่นภายในกำหนดเวลาแล้ว สามารถทำงานไปพลางก่อนได้จนกว่านายทะเบียนจะแจ้งผลการพิจารณาต่อใบอนุญาตหรือไม่อนุญาต
3. การต่ออายุใบอนุญาตจะได้รับการพิจารณาครั้งละไม่เกิน 1 ปี กรณีคนต่างด้าวทำงานเมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว โดยไม่ได้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุหรือได้ยื่นคำขอแล้วแต่นายทะเบียนมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุ ใบอนุญาต และมิได้อุทธรณ์ หรืออุทธรณ์แล้วแต่รัฐมนตรีมี คำวินิจฉัยไม่อนุญาต มีความผิดจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อัตราค่าธรรมเนียม
1. การยื่นคำขอ |
ฉบับละ 100 บาท |
2. ใบอนุญาต |
|
- ใบอนุญาตที่มีอายุเกิน 3 เดือน |
ฉบับละ 750 บาท |
- ใบอนุญาตที่มีอายุเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน |
ฉบับละ 1,500 บาท |
- ใบอนุญาตที่มีอายุเกิน 6 เดือน แต่ไม่เกินหนึ่งปี |
ฉบับละ 3,000 บาท |
3. การต่ออายุใบอนุญาตหรือการขยายระยะเวลาการทำงาน |
|
- ในกรณี ไม่เกิน 3 เดือน |
ครั้งละ 750 บาท |
- ในกรณี เกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน |
ครั้งละ 1,500 บาท |
- ในกรณี เกิน 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี |
ครั้งละ 3,000 บาท |
4. ใบแทนใบอนุญาต |
ฉบับละ 150 บาท |
5. การอนุญาตให้ทำงานอื่น |
ครั้งละ 150 บาท |
6. การอนุญาตให้เปลี่ยนท้องที่หรือสถานที่ในการทำงาน |
ครั้งละ 150 บาท |
|
สิทธิการอุทธรณ์
เมื่อยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานและไม่ได้รับอนุญาต หรือไม่ได้รับการต่ออายุใบอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ทำงานอื่น หรือไม่ให้ เปลี่ยนท้องที่ หรือสถานที่ทำงาน ผู้ขอมีสิทธิอุทธรณ์ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่ออธิบดีกรมการจัดหางาน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่งไม่อนุญาตเมื่อได้รับอุทธรณ์แล้ว ให้ผู้รับอุทธรณ์นำส่งคณะกรรมการพิจารณาการทำงานของคนต่างด้าว ( รัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งตามมาตรา 24, 25, 26, 27, 28, 29) ภายใน 15 วันโดยคณะกรรมการฯ ต้องพิจารณาเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี ภายใน 15 วัน และให้รัฐมนตรีวินิจฉัยคำอุทธรณ์ภายใน 30 วันคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุดการขอรับใบอนุญาตทำงานในการยื่นคำขอรับ ใบอนุญาตทำงานการขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานการขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงานและการขออนุญาตเปลี่ยนการทำงานหรือเปลี่ยนท้องที่ หรือสถานที่ในการทำงานให้ยื่นคำขอ ณ จังหวัดที่เป็นที่ตั้งสถานที่ทำงาน หรือสำนักงานของคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ ดังนี้
1. ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กองงานคนต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ศูนย์ควบคุมแรงงานต่างชาติ หรือศูนย์บริการวีซ่า แล้วแต่กรณี
2. เมื่อใบอนุญาตทำงานชำรุดในสาระสำคัญหรือสูญหาย ต้องยื่นขอใบแทนใบอนุญาตภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบการชำรุด หรือสูญหาย (มาตรา 19) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ตามมาตรา 36
3. เมื่อเลิกทำงานต้องคืนใบอนุญาตทำงานให้แก่นายทะเบียนในท้องที่จังหวัดที่ตั้งสถานที่ทำงานภายใน 7 วัน นับแต่วันเลิกทำงาน (มาตรา 20) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ตามมาตรา 35
4. ต้องทำงานตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น หากประสงค์จะทำงานอื่น หรือเปลี่ยนท้องที่ หรือสถานที่ในการทำงานต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนก่อน (มาตรา 21) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามาตรา 38
5. คนต่างด้าวที่ได้รับการขยบายระยะเวลาการทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือตามกฎหมายอื่นต้องแจ้ง ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับการขยายระยะเวลา (มาตรา 14) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ตามมาตรา 36
6. ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ และประสงค์จะทำงานต้องยื่นตำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานต่อนายทะเบียนก่อน โดยผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตสามารถทำงานไปพลางก่อนได้จนกว่านายทะเบียน จะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุ (มาตรา 15) ผู้ฝ่าฝืนทำงานเมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 37
7. กรณีการเปลี่ยน ชื่อ นามสกุล สัญชาติ ที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว หรือชื่อสถานที่ทำงาน ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขโดยไม่ชักช้า
คนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานแล้วต้องปฏิบัติ ดังนี้
1. มีใบอนุญาตติดตัวไว้หรือมีอยู่ ณ ที่ทำงานในระหว่างทำงานเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลา (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท)
2. ต้องทำงานตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น หากประสงค์จะทำงานอื่น หรือเปลี่ยนท้องที่หรือสถานที่ในการทำงาน ต้องได้รับอนุญาตก่อน (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ)
3. คนต่างด้าวที่ได้รับการขยายระยะเวลาการทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือกฎหมายอื่น ต้องแจ้งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับการขยายระยะเวลา (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท)
4. ก่อนใบอนุญาตทำงานสิ้นอายุ และประสงค์จะทำงานต่อต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนจึงจะทำงานได้ ( ผู้ฝ่าฝืนทำงานเมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว มีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือประบไม่เกินห้าพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ)
5. กรณีใบอนุญาตชำรุดหรือสูญหาย ต้องยื่นขอใบแทนใบอนุญาตภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบ ( ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท)
6. กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล สัญชาติ ที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว หรือชื่อสถานที่ทำงาน ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขโดยไม่ชักช้า
7. เมื่อเลิกทำงานต้องคืนใบอนุญาตทำงานภายใน 7 วัน นับแต่วันเลิกทำงาน ( ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท)
นายจ้างที่จะจ้างคนต่างด้าวทำงานต้องปฏิบัติดังนี้
1. ห้ามรับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือรับคนต่างด้าวเข้าทำงานที่มีลักษณะงานหรือเงื่อนไขต่างไปจากที่กำหนดไว้ใน
ใบอนุญาต ( มาตรา 22) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 39
2. นายจ้างที่รับคนต่างด้าวเข้าทำงานหรือให้ย้ายไปทำงานที่อื่นนอกจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตหรือออกจากงานต้องแจ้ง
นายทะเบียน ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เข้ารับทำงาน หรือย้ายออกจากงาน หรือย้ายออกจากงาน (มาตรา 23) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ตามมาตรา 40
สรุปสาระสำคัญ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 322 พ.ศ. 2515 ในส่วนที่ว่าด้วยคนต่างด้าวประเภทตลอดชีพ
พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 มาตรา 43 มีสาระสำคัญว่าใบอนุญาตทำงานที่ออกให้ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 322 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ให้ใช้ต่อไปได้ตราบเท่าที่ใบอนุญาตยังไม่สิ้นอายุและผู้รับใบอนุญาตยังทำงานที่ได้รับอนุญาตนั้น และมาตรา 46 กำหนดว่าบรรดาพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และประกาศหรือคำสั่งของรัฐมนตรีหรืออธิบดี หรือใบอนุญาตซึ่งออกหรือสั่งโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 322 เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัติการทำงาของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 ให้ใช้บังคับได้ต่อไปและให้ถือเสมือนเป็นพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และประกาศหรือคำสั่งของรัฐมนตรีหรืออธิบดี หรือใบอนุญาตที่ออกตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 ตามบทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 322 พ.ศ. 2515 กรณี ข้อ
10(1) คนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและทำงานอยู่ก่อนวันที่ 13 ธันวาคม 2515 สามารถใช้ใบอนุญาตทำงานได้ตลอดชีวิตของคนต่างด้าวนั้น เว้นแต่คนต่างด้าวจะเปลี่ยนอาชีพใหม่ การขอเปลี่ยนหรือเพิ่มสถานที่ทำงานหรือท้องที่การทำงาน ให้ใช้แบบคำร้องของการเปลี่ยนแปลงรายการ ตท. 6 ( ใบแทนใบอนุญาตทำงาน)
ตท. 7 ( การเปลี่ยนหรือเพิ่มสถานที่ทำงานหรือท้องที่การทำงาน)ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521
* ข้อมูลจาก กรมการจัดหางาน
เพื่อให้การพิจารณาอนุญาติการทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา ๗ และมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นไปโดยรอบคอบตรงตามเจตนารมณ์ของกฏหมายสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาติการทำงานคนต่างด้าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติระ เบียบบริหารราชการแผ่นดิน (แฉบับที่ ๕ ) พ.ศ. ๒๕๔๕ อธิบดีกรมการจัดหางานจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณษอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๗ ”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๗ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
( ๑) ระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
( ๒) ระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
( ๓) ระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๔๖ ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖
ข้อ ๔ การออกใบอนุญาตให้กับคนต่างด้าวตามมาตรา ๗ และมาตรา ๘ ให้พิจารณาอนุญาตตามความจำเป็นและความเหมาะสมโดยคำนึงถึง
( ๑) ความมั่นคงภานฃยในราชอาณาจักรด้านการเมือง ศาสนา เศรษฐกิจและสังคม
( ๒) การปกป้องมิให้คนต่างด้าวเข้ามาแย่งอาชีพที่คนไทยมีความรู้ความสามารถที่จะทำได้ และมีอำนาจเพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงานภายในราชอาณาจักร
( ๓) ประโยชน์จากการอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในตำแหน่งงานนนั้นก่อให้เกิดการนำเงินตราตางประเทศเข้ามาลงทุนหรือใช้จายในประเทศจำนวนมาก ก่อให้เกิดการจ้างงานคนไทยจำนวนมาก หรือเป็นตำแหน่งที่ต้องใช้ความรู้ความชำนาญในวิทยาการสมัยที่เป็นประโยชน์ต่อการกัมนาเศรษฐกิจของประเทศ และมีการถ่ายทอดให้คนไทย
( ๔) การพัฒนาทักาะฝีมือที่คนไทยจะได้รับจากการที่คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานได้ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ วิธีการ รายละเอียดที่เกี่ยวข้องของเครื่องจักร เครื่องมือ และความรู้ความชำนาญในงานวิจัยการสมัยใหม่ให้แก่คนไทยในงานนั้น
( ๕) หลักมนุษยธรรม
ข้อ ๕ การพิจารณาออกใบอนุญาตตามข้อ ๔ ให้อนุญาตได้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
( ๑) คนต่างด้าวเข้ามาปฏิบัติงานในสถาบันการเงินในการกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือกระทรวงการคลัง หรือหนวยงานของรัฐซึ่งกำกับดูแลสถาบันการเงิน โดยมีหนังสือรับรองจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือระทรวงการคลัง หรือหน่วยงานของรัฐซึ่งกำกับดูแลสถาบันการเงิน ให้อนุญาตตามจำนวนที่กำหนดไว้ในหนังสือรับรอง
( ๒) คนต่างด้าวตามที่มีหนังสือรับรองจากราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชนตามกฏหมายว่าด้วยแงค์การมหาชน ที่เกี่ยงข้องซึ่งระบุชื่อตำแหน่งงาน และระยะเวลาการทำงานขงคนต่างด้าวนั้น
( ๓) คนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างที่มีขนาดการลงทุนจากทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่าสองล้านบาท โดยทุก ๆ สองล้านบาทให้อนุญาตได่ฃ้หนึ่งคน หรือนายจ้างจดทะเบียนนิติบุคคลในต่างประเทศและเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยก่อนวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๕ ที่ไม่มีหลักฐานการนำเงินเข้ามาจากต่างประเทศให้พิจารณาจากขนาดของการลงทุนจากจำนวนเงินคงเหลือตามที่ปรากฏในรายการเคลื่อนไหวทางบัญชีธนาคารย้อนหลังหกเดือน จำนวนตั้งแต่สามล้านบาทขึ้นไป โดยทุก ๆ ทสามล้านบามได้อนุญาตได้หนึ่งคน เว้นแต่คนต่างด้าวมีคู่สมรสเป็นคนไทยซึ่งจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฏหมายและกินอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยาโดยเปิดเผย ขนาดของการลงทุนตามที่กำหนดไว้ให้ลดลงกึ่งหนึ่ง ทั้งนี้ให้อนุญาตได้ไม่เกินสิบคนเว้นแต่การพิจารณาอนุญาตตามความเหมาะสมในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
( ก) ทำงานกับนายจ้างที่ได้ชำระภาษีเงินได้ให้แก่รัฐในรอบปีที่ผ่านมาไม่น้อยกว่าสามล้านบาท
( ข) ทำงานกับนายจ้างที่ดำเนินธุรกิจส่งออกสินค้าไปต่างประเทศและนำเงินตรต่างประเทศเข้าประเทศไม่น้อยกว่าสามสิบล้านบาทขึ้นไปในปีที่ผ่านมา
( ค) ทำงานกับนายจ้างที่ดำเนินธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งนำชาวต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ไม่น้อยกว่าห้าพันคนในรอบปีที่ผ่านมา
( ง) ทำงานับนายจ้างที่มีการจ้างงานคนไทยไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน
( ๔) คนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างที่มีขนาดของการลงทุนจากทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่าสองล้านบาท หรือนายจ้างจดทะเบียนนิติบุคคลในต่างประเทศและเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยที่มีขนาดของการลงทุนจากเงินที่นำมาจากต่างประเทศไม่ต่ำกว่าสามล้านยาท ในลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังต่อไปนี้มิให้นำข้อจำกัดในเรื่องจำนวนคนต่างด้าวตามความในข้อ ๕ ( ๓) มาใช้บังคับ
( ก) คนต่างด้าวทำงานที่ใช้เทคโนโลยีซึ่งคนไทยยังทำไม่ได้ หรือมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงานภายในประเทศ โดยให้มีการถ่ายทอดให้แก่คนไทยอย่างน้อยสองคน ภายในระยะเวลาที่กำหนด
( ข) คนต่างด้าวทำงานโดยใช้ความรู้ความชำนาญเฉพาะทางเพื่อให้งานสำเร็จภายใต้โครงการที่มีระยะเวลากำหนดไว้แน่นอน
( ๕) คนต่างด้าวทำงานในมูลนิธิ สมาคม หรือองค์การอื่นที่มีวัตถุประสงค์ไม่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจหรือเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยส่วนรวม มิให้นำหลักเกณฑ์ในข้อ ๕(๓) มาใช้บังคับ
( ๖) คนต่างด้าวที่เข้ามาประจำสำนักงานผู้แทนนิติบุคคลต่างประเทศในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเข้ามาให้คำแนะนำในด้านต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าของสำนักงานใหญ่ที่จำหน่ายแก่ตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ใช้สินค้า การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการใหม่ของสำนักงานใหญ่ และการรายงานความเคลื่อนไหวทางธุรกิจในประเทศไทยให้สำนักงานใหญ่ทราบให้อนุญาตได้ไม่เกินสองคน คนต่างด้าวที่เข้ามาหาแหล่งจัดซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศไทยให้สำนักงานใหญ่ การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพและปริมาณของสินค้าที่สำนักงานใหญ่ซื้อหรือจ้างผลิตในประเทศไทยให้อนุญาตได้ไม่เกินห้าคน เว้นแต่สำนักงานผู้แทนนั้นสามารถหาแหล่งจัดซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศไทยมีมูลค่าการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการในรอบปีที่ผ่านมาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท
( ๗) คนต่างด้าวที่เข้ามาประจำสำนักงานภูมิภาคของนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายของต่างประเทศและเข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศอื่น เพื่อให้บริการในด้านต่างๆ ได้แก่ การติดต่อประสานงานและการกำกับการดำเนินงานของสาขาหรือบริษัทใรเครือที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันแทนสำนักงานใหญ่ การให้คำปรึกษาหรือบริการในการจัดการฝึกอบรมและพัฒนาบุคคล การจัดการด้านการเงินและควบคุมการตลาดและการวางแผนส่งเสริมการขาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการวิจัยพัฒนาโดยไม่มีรายได้จากการให้บริการนั้นและไม่มีอำนาจรับคำสั่งซื้อหรือเสนอขายหรือเจรจาทำธุรกิจกับบุคคลหรือนิติบุคคลในประเทศที่เข้าไปตั้ง ทั้งนี้ โดยได้รับเงินค่าใช้จ่ายในสำนักงานจากสำนักงานใหญ่เท่านั้นให้อนุญาตได้ไม่เกินห้าคน เว้นแต่สำนักงานภูมิภาคนั้นนำเงินเข้ามาใช้จ่ายในประเทศไทยในรอบปีที่ผ่านมาไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท
ข้อ ๖ การพิจารราออกใบอนุญาตตามข้อ ๔ ให้กับคนต่างด้าวซึ่งขออนุญาตทำงานกับนายจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมิใช่นายจ้างที่มีลักษณะตามข้อ ๕ ให้อนุญาตได้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
( ๑) คนต่าางด้าวทำงานกับนายจ้างที่มีรายได้จากการประกอบกิจการในรอบปีที่ผ่านมาหรือปีปัจจุบันทุก ๆ เจ็ดแสนบาทให้อนุญาตได้หนึ่งคน ทั้งนี้ไม่เกินสาทคน
( ๒) คนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างที่ได้ชำระภาษีเงินได้ให้แก่รัฐในรอบปีที่ผ่านมาทุกๆห้าหมื่นบาทให้อนุญาตได้หนึ่งคน ทั้งนี้ไม่เกินสามคน
( ๓) คนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างที่มีการจ้างคนไทยทุกสี่คนให้อนุญาตได้หนึ่งคนทั้งนี้ไม่เกินสามคน
หลักเกณฑ์ตามความในวรรคหนึ่งให้ลดกึ้ฃ่งหนึ่งในกรณีที่คนต่างด้าวผู้ขอใบอนุญาตมีคู่สมรสเป็นคนไทยซึ่งจดทะเบียนสมรส โดยถูกต้องตามกฏหมายและอยู่กินร่วมกันฉันท์สามีภรรยาโดยเปิดเผย
ข้อ ๗ การพิจารณาอกใบอนุญาตตามข้อ ๔ ให้กับคนต่างด้าวซึ่งขออนุญาตทำงานให้บริการทางกฏหมายหรืออรรถคดี ให้อนุญาตได้ตามจำนวนที่คู่กรณีตกลงกันในงานดังต่อไปนี้
( ๑) งานปฏิบัติหน้าที่ให้อนุญาตโตตุลาการ
( ๒) งานว่าต่างแก้ต่างในชั้นอนุญาโตตุลาการ ถ้ากฏหมายซึ่งใช้บังคับแก่ข้อพิพาทที่พิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการนั้นมิใช่กฏหมายไทย หรือเป็นกรณีที่ไม่ต้องขอบังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นในราชอาณาจักรไทย
&nbnbsp; ข้อ ๘ การพิจารณาอนุญาตนอกเหนือจากกรณีหรือหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เป็นอำนาจของอธิบดี
ข้อ ๙ บรรดาคำขอที่เจ้าหน้าที่ได้รับไว้ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ปฏิบัติตามระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.๒๕๔๕ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๕ ระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ และระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว(ฉบับที่ ๓ ) พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖
ข้อ ๑๐ ให้อธิบดีกรมการจัดหางานเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๗
( นายจุฑาธวัช อินทรสุขศรี)
อธิบดีกรมการจัดหางาน
* ข้อมูลจากกรมการจัดหางาน
คำถาม – คำตอบที่พบบ่อย
“ การขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าวระดับฝีมือ ชำนาญการ”
ถาม การขอใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวระดับฝีมือ ได้แก่ ผู้มีฝีมือ/ผู้ชำนาญการ/ผู้บริหาร ทำอย่างไร
ตอบ คนต่างด้าวที่อยู่ต่างประเทศต้องไปติดต่อขอวีซ่าประเภท Non-Immigrant-B ที่สถานทูตไทยประจำประเทศที่คนต่างด้าวพำนักอยู่ และเมื่อคนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทยแล้วให้ติดต่อยื่น คำขอรับใบอนุญาตทำงาน ณ สำนักงานของกรมการจัดหางานที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ได้แก่ ในกรุงเทพมหานคร ติดต่อ สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว และในต่างจังหวัดติดต่อสำนักงานจัดหางานจังหวัด โดยให้ยื่นเอกสารการขอรับใบอนุญาตทำงานตามแบบคำขอ ตท.1 ซึ่งติดต่อขอรายละเอียดพร้อมแบบคำขอได้ที่สำนักงานดังกล่าว หรือจาก “wp.doe.go.th” หลังจากกรอกแบบคำขอ ตท.1 พร้อมยื่นเอกสารประกอบคำขอเรียบร้อยสมบูรณ์แล้วจะทราบผลการอนุญาตทำงานภายใน ๗ วันทำการ โดยคนต่างด้าวและนายจ้างเจ้าของสถานประกอบการอาจมอบอำนาจให้พนักงานคนไทยดำเนินการยื่นคำขอแทนได้ และเมื่อ คนต่างด้าวได้รับการพิจารณาอนุญาตให้ทำงานได้ คนต่างด้าวต้องไปรับใบอนุญาตทำงานด้วยตนเอง
หากคนต่างด้าวที่อยู่ต่างประเทศไปติดต่อขอวีซ่าประเภท Non-Immigrant-B ที่สถานทูตไทยในต่างประเทศพร้อมแสดงเอกสารการดำเนินธุรกิจของสถานประกอบการและสัญญาจ้างคนต่างด้าวรับเข้าทำงานแล้ว หากยังไม่ได้รับวีซ่าประเภท Non-Immigrant-B อีก และสถานทูตไทยยังต้องการหนังสือรับรองการอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานจากกระทรวงแรงงาน จึงต้องให้นายจ้างดำเนินการยื่นแบบคำขอ ตท.3 พร้อมแสดงเอกสารประกอบการยื่นคำขอรับหนังสือแจ้งผลการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงาน ยื่นได้ที่สำนักงานของกรมการจัดหางานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคตามสถานที่ตั้งของสถานประกอบการนั้นตั้งอยู่ โดยนายจ้างเจ้าของสถานประกอบการอาจมอบอำนาจให้พนักงานคนไทยดำเนินการยื่นคำขอแทนได้ แล้วสำนักงานฯ จะออกหนังสือแจ้งผลพิจารณาการอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานภายใน ๗ วันทำการ หลังจากนายจ้างได้รับหนังสือแจ้งผลพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาทำงานได้แล้ว จึงส่งไปให้คนต่างด้าวที่อยู่ในต่างประเทศนำไปที่สถานทูตไทยในประเทศนั้นเพื่อยื่นขอวีซ่า Non-Immigrant-B และเมื่อคนต่างด้าว เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทยแล้ว คนต่างด้าวหรือผู้รับมอบอำนาจต้องไปติดต่อยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานพร้อมแสดงเอกสารตามที่กำหนดไว้ในหนังสือดังกล่าวที่สำนักงานฯ ภายใน 30 วันนับจากวันที่รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณานั้น และคนต่างด้าวจะได้รับเล่มใบอนุญาตทำงานภายใน 3 วันทำการ โดยในวันที่รับใบอนุญาตทำงานคนต่างด้าวต้องไปรับใบอนุญาตทำงานด้วยตนเอง
ทั้งนี้ สามารถค้นหารายละเอียดข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้จาก “wp.doe.go.th” แล้วเข้าเมนู “ เกี่ยวกับการขอทำงาน”
ถาม สถานที่ติดต่อรับใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว ติดต่อที่ใดได้บ้าง
ตอบ
1. กรุงเทพมหานคร ติดต่อสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี ดินแดง กรุงเทพฯ
2. ต่างจังหวัด ติดต่อสำนักงานจัดหางานจังหวัดประจำจังหวัดที่สถานประกอบตั้งอยู่
ถาม การออกใบอนุญาตทำงานมีหลักเกณฑ์/เงื่อนไขในการพิจารณาอย่างได
ตอบ แนวทางการพิจารณาออกใบอนุญาตทำงานให้คนต่างด้าวภายใต้กฎหมาย กฎระเบียบและหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 ตามมาตรา 9 โดยคนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงานต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (Non-Immigrant Visa) ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางผ่าน (Tourist/Transit)
2. พระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 จำนวน 39 อาชีพ ได้แก่
- งานกรรมกร
- งานกสิกรรม งานเลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรืองานประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญงานเฉพาะสาขา หรืองานควบคุมดูแลฟาร์ม
- งานก่ออิฐ งานช่างไม้ หรืองานก่อสร้างอื่น
- งานแกะสลักไม้
- งานขับขี่ยานยนต์ หรืองานขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องกล ยกเว้นงานขับขี่เครื่องบินระหว่างประเทศ
- งานขายของหน้าร้าน
- งานขายทอดตลาด
- งานควบคุม ตรวจสอบหรือให้บริการทางบัญชี ยกเว้นงานตรวจสอบภายในเป็นครั้งคราว
- งานเจียระไน หรือขัดเพชรหรือพลอย
- งานตัดผม งานดัดผม หรืองานเสริมสวย
- งานทอผ้าด้วยมือ
- งานทอเสื่อ หรืองานทำเครื่องใช้ด้วยกก หวาย ปอ ฟาง หรือเยื่อไม้ไผ่
- งานทำกระดาษสาด้วยมือ
- งานทำเครื่องเงิน
- งานทำเครื่องดนตรีไทย
- งานทำเครื่องถม
- งานทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก
- งานทำเครื่องลงหิน
- งานทำตุ๊กตาไทย
- งานทำที่นอนหรือผ้าห่มนวม
- งานทำบาตร
- งานทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ
- งานทำพระพุทธรูป
- งานทำมีด
- งานทำร่มด้วยกระดาษหรือผ้า
- งานทำรองเท้า
- งานทำหมวก
- งานนายหน้า หรืองานตัวแทน ยกเว้นงานนายหน้าหรืองานตัวแทนในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
- งานในวิชาชีพวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธา ที่เกี่ยวกับงานออกแบบและคำนวณ จัดระบบ วิจัย วางโครงการ ทดสอบ ควบคุมการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ ทั้งนี้ไม่รวมที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษ
- งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับงานออกแบบ เขียนแบบ ประมาณราคา อำนวยการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ
- งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย
- งานปั้นหรือทำเครื่องปั้นดินเผา
- งานมวนบุหรี่ด้วยมือ
- งานมัคคุเทศก์ หรืองานจัดนำเที่ยว
- งานเร่ขายสินค้า
- งานเรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมือ
- งานสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ
- งานเสมียนพนักงานหรืองานเลขานุการ
- งานให้บริการทางกฎหมายหรืออรรถคด
3. ระเบียบกรมการจัดหางานว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2552 ในข้อ 4 และข้อ 5 ดังนี้
ข้อ 4 ให้พิจารณาได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยคำนึงถึง
- ความมั่นคงภายในราชอาณาจักรด้านการเมือง ศาสนา เศรษฐกิจและสังคม
- โอกาสในการประกอบอาชีพของคนไทย และความต้องการแรงงานต่างด้าวที่จำเป็นต่อ การพัฒนาประเทศ
- ประโยชน์จากการอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในตำแหน่งงานนั้น เช่น การนำเงินตรำต่างประเทศเข้ามาลงทุนหรือใช้จ่ายในประเทศเป็นจำนวน การจ้างงานคนไทยจำนวนมาก หรือ การพัฒนาทักษะฝีมือคนไทยซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงาน
ข้อ 5 การกำหนดจำนวนการออกใบอนุญาตทำงานเป็นไปตามระเบียบกรมการจัดหางานว่าด้วยหลักเกณฑ์ฯ พ.ศ. 2552
- นายจ้างที่มีขนาดการลงทุนจากทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท หรือจดทะเบียนนิติบุคคลในต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท ออกใบอนุญาตทำงานให้ 1 คน และให้เพิ่มขึ้นหนึ่งคนต่อขนาดการลงทุนทุก 2 หรือ 3 ล้านบาท แต่ทั้งนี้ไม่เกิน 10 คน
- การออกใบอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงาน โดยใช้เทคโนโลยีซึ่งคนไทยทำไม่ได้หรือใช้ความรู้ ความชำนาญเฉพาะทางเพื่อให้งานสำเร็จภายใต้โครงการที่มีระยะเวลาแน่นอน หรือนายจ้างที่ชำระภาษีเงินได้ให้แก่รัฐในรอบปีที่ผ่านมาไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท หรือมีการจ้างงานคนไทยไม่น้อยกว่า 100 คน จำนวนของการออกใบอนุญาตทำงานเป็นไปตามความจำเป็นและเหมาะสม
- อื่น ๆ ตามที่ระเบียบกรมการจัดหางานว่าด้วยหลักเกณฑ์ฯ พ.ศ. 2552 กำหนดไว้
4. กฎระเบียบของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
4.1 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ ดังนี้
- จำนวนของการจ้างงานคนไทย คือ ลูกจ้างคนไทย 4 คน : คนต่างด้าว 1 คน
- อัตราค่าจ้าง/เงินเดือน ตามสัญชาติของคนต่างด้าว
4.2 ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในกรณีที่เป็นการประกอบอาชีพที่กฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
4.3 ใบอนุญาตประกอบกิจการที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายอื่น หรือต้องมีหนังสืออนุญาตให้ดำเนินกิจการจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบอนุญาตจัดหางาน ใบอนุญาตโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน เป็นต้น
ถาม หากต้องการรับครูเข้าทำงานในโรงเรียนต้องมีระเบียบการและขั้นตอนอย่างไรบ้าง
ตอบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. กรณีครูโรงเรียนรัฐบาล คนต่างด้าวต้องไปติดต่อขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจากคุรุสภา และโรงเรียนต้องดำเนินการขอหนังสือรับรองเพื่อให้การสนับสนุนในการออกใบอนุญาตทำงานจากสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน/ สำนักงานเขตการศึกษา/ สำนักงานเขต แล้วแต่กรณีว่าโรงเรียนอยู่ภายใต้สังกัดหน่วยงานใด และหนังสือขอความอนุเคราะห์ในการออกใบอนุญาตทำงานจากโรงเรียนที่รับคนต่างด้าวเข้าทำงาน พร้อมแสดงเอกสารหลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามแบบคำขอ ตท.1 แล้วจะได้รับใบอนุญาตทำงานภายใน 3 วันทำการ
2. กรณีครูโรงเรียนเอกชน คนต่างด้าวต้องไปติดต่อขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจากคุรุสภา ยกเว้นกรณีเป็น “ ผู้สอน” ในโรงเรียนเอกชนนอกระบบ พร้อมแสดงเอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามแบบคำขอ ตท.1 แล้วจะได้รับใบอนุญาตทำงานภายใน 5 วันทำการ
ถาม การยื่นแบบคำขอรับใบอนุญาตทำงาน คนต่างด้าวต้องมาติดต่อ/ดำเนินการด้วยตนเองหรือไม่
ตอบ ไม่จำเป็น คนต่างด้าวสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นหรือกระทำการแทนได้ โดยต้องมอบอำนาจให้ คนไทยเท่านั้นจะเป็นคนต่างด้าวไม่ได้ เว้นแต่การรับใบอนุญาตทำงานเล่มใหม่ คนต่างด้าวต้องมาแสดงตนในวันรับเล่มใบอนุญาตทำงานด้วยตนเอง เนื่องจากต้องลงลายมือชื่อในใบอนุญาตต่อหน้าเจ้าหน้าที่
ถาม ระยะเวลาของการอนุญาตในใบอนุญาตทำงานจะมีอายุเท่าใด
ตอบ ระยะเวลาการอนุญาตทำงานพิจารณาตามความเหมาะสมอนุญาต 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี สูงสุดไม่เกิน 2 ปี โดยกำหนดไม่ตรงกับระยะเวลาของการอยู่ในราชอาณาจักร/วีซ่า
ถาม การต่ออายุใบอนุญาตทำงานทำอย่างไร และหากใบอนุญาตทำงานหมดอายุแล้วต่ออายุได้หรือไม่
ตอบ คนต่างด้าว/ผู้รับมอบอำนาจต้องยื่นคำขอต่ออายุการอยู่ในราชอาณาจักรไทยจากสำนักงานตรวจ คนเข้าเมืองก่อนการสิ้นอายุใบอนุญาตทำงาน โดยให้ยื่นตามแบบคำขอ ตท.5 และหากใบอนุญาตทำงานหมดอายุไปแล้วหรือมายื่นล่าช้ากว่ากำหนด ใบอนุญาตทำงานนั้นไม่สามารถทำการต่ออายุได้ คนต่างด้าวต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานฉบับใหม่ตามแบบคำขอ ตท.1 โดยขณะที่ยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานฉบับใหม่ วีซ่าดวงล่าสุดยังต้องเป็นประเภท Non-Immigrant-B และต้องยังไม่หมดอายุการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
ถาม ใบอนุญาตทำงานใกล้หมดอายุแล้ว แต่เอกสารยังไม่สามารถเตรียมพร้อมได้ทันกำหนดเวลาการต่ออายุ หรือคนต่างด้าวทางไปต่างประเทศยังไม่อยู่ในประเทศไทยต้องทำอย่างไร
ตอบ ให้คนต่างด้าว/ผู้รับมอบอำนาจดำเนินการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามแบบคำขอ ตท.5 พร้อมเอกสารเกี่ยวข้องไว้ก่อนได้ โดยเจ้าหน้าที่จะรับเรื่องและออกใบรับคำขอให้ไว้เป็นหลักฐาน และจะกำหนดให้นำเอกสารมายื่นใหม่ได้ภายในวันที่กำหนด ส่วนกรณีคนต่างด้าวยังอยู่ต่างประเทศ/ไม่อยู่ในราชอาณาจักร ให้ผู้รับมอบอำนาจจากคนต่างด้าว/นายจ้างดำเนินการยื่นเอกสารเช่นเดียวกัน และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ
เจ้าหน้าที่จะรับเรื่องและออกใบรับคำขอที่มีการประทับตรากรณีคนต่างด้าวเดินทางไปต่างประเทศให้เก็บไว้เป็นหลักฐาน หลังจากนั้นคนต่างด้าวต้องเดินทางเข้ามาติดต่อขอต่ออายุใบอนุญาตพร้อมหนังสือเดินทางและเอกสารที่ต้องการเพิ่มเติมภายใน 3 วันนับจากวันที่คนต่างด้าวเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักร แต่ต้องไม่เกินระยะเวลา 30 วันนับจากวันที่ยื่นแบบคำขอต่ออายุ โดยคนต่างด้าวสามารถ มอบอำนาจในการดำเนินการให้บุคคลอื่นกระทำการแทนได้
ถาม หากใบอนุญาตทำงานชำรุด หรือสูญหายต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ คนต่างด้าวต้องยื่นเอกสารขอใบแทนใบอนุญาตทำงาน ตามแบบ ตท.4 ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบการชำรุดหรือสูญหาย และต้องดำเนินการยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตทำงานหมดอายุ เนื่องจากใบอนุญาตทำงานที่หมดอายุไปแล้วไม่สามารถต่ออายุได้ โดยคนต่างด้าวสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นแทนได้ หลังจากยื่นเอกสารครบถ้วนแล้วจะได้รับใบแทนใบอนุญาตทำงานภายใน 7 วันทำการ และในวันที่รับใบอนุญาตทำงานใหม่คนต่างด้าวต้องมาติดต่อขอรับด้วยตนเอง
ถาม การขอเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมใด ๆ ที่นอกเหนือจากการอนุญาตต้องทำอย่างไร
ตอบ กรณีเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม สถานที่ทำงาน ท้องที่การทำงาน ตำแหน่งงาน ลักษณะงานโดยยังคงทำงานในสถานประกอบการเดิม ให้ยื่นเอกสารตามแบบคำขอ ตท.6 หลังจากยื่นเอกสารครบถ้วนแล้วทราบผลภายใน 3 - 7 วันทำการ ส่วนการเปลี่ยนแปลงในกรณีชื่อ , ที่อยู่, สัญชาติของคนต่างด้าว หรือชื่อ, เปลี่ยนรายละเอียดที่ตั้งตามประกาศของทางราชการของสถานประกอบการ รวมทั้งกรณีการเพิ่มประเภทธุรกิจ โดยธุรกิจเดิมก็ยังคงดำเนินการอยู่ ให้ยื่นเอกสารตามแบบคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาตทำงาน หลังจากยื่นเอกสารครบถ้วนแล้วทราบผลภายใน 3 วันทำการ
ถาม คนต่างด้าวสามารถเพิ่มนายจ้าง/สถานประกอบการได้หรือไม่
ตอบ ได้ โดยให้ยื่นเอกสารตามแบบคำขอ ตท.6 แต่มีข้อกำหนด/เงื่อนไขว่าคนต่างด้าวที่ทำงานในบริษัทที่ใช้สิทธิการขออนุญาตทำงานภายใต้การส่งเสริมการลงทุน การนิคมอุตสาหกรรม หรือการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ส่วนบริษัทที่ขอเพิ่มการทำงานก็ต้องได้รับสิทธิการขอรับอนุญาตทำงานของ คนต่างด้าวภายใต้กฎหมายดังกล่าวเช่นกัน หากมิใช่ไม่สามารถเพิ่มได้ และคนต่างด้าวที่ทำงานในบริษัททั่ว ๆ ไป บริษัทที่ขอเพิ่มการทำงานก็ต้องเป็นบริษัททั่วไปเช่นเดียวกัน ซึ่งจะเป็นบริษัทที่ขอรับสิทธิการอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวภายใต้กฎหมายดังข้างต้นไม่ได้
ถาม ค่าใช้จ่าย/ค่าธรรมเนียมในการทำใบอนุญาตทำงานมีอะไรบ้าง
ตอบ
- ค่ายื่นแบบ 100 บาท
- ค่าอายุใบอนุญาตทำงานระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน 750 บาท ระยะเวลา 3 – 6 เดือน 1,500 บาท และระยะเวลา 6 เดือน – 1 ปี 3,000 บาท
- ค่าใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 500 บาท
- ค่าการอนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มลักษณะงาน ครั้งละ 1,000 บาท
- ค่าการอนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มนายจ้าง ครั้งละ 3,000 บาท
- ค่าการอนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มท้องที่หรือสถานที่ทำงาน ครั้งละ 1,000 บาท
- การยื่นคำร้องขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในอนุญาตทำงานไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
ถาม กระบวนการในการพิจารณาหลังจากรับเรื่องไว้แล้ว ใช้เวลาเท่าใด
ตอบ
- การยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานใหม่ ตามแบบ ตท.1 ตท.3 ใช้เวลา 3 - 7 วันทำการ
- การยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ตามแบบ ตท.5 ใช้เวลา 3 – 7 วันทำการ
- การยื่นคำขอเปลี่ยน/เพิ่ม การทำงาน ท้องที่ สถานที่ ตามแบบ ตท.6 ใช้เวลา 3 - 7 วันทำการ
- การยื่นคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาตทำงาน ใช้เวลา 3 วันทำการ
- การยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงาน ตามแบบ ตท.4 ใช้เวลา 7 วันทำการ
- การแจ้งงานอันจำเป็นและเร่งด่วน ตท.10 ใช้เวลา 1 วันทำการ
ถาม หากต้องการเปลี่ยนนายจ้างจะต้องทำอย่างไรบ้าง
ตอบ คนต่างด้าวสามารถดำเนินการได้ 2 วิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 คนต่างด้าวต้องไปติดต่อขอยกเลิกวีซ่าสถานประกอบการเดิมที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งมิใช่การได้รับอนุญาตภายใต้คู่สมรส/อุปการะครอบครัวคนไทย (กรณีเช่นนี้มิต้องกระทำการยกเลิกวีซ่า) และขอระยะเวลาการอยู่ในราชอาณาจักรอีก 7 วัน “ โดยต้องมิได้ถูกเสียค่าปรับการอยู่เกินกำหนดจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง” แล้วให้เร่งรีบดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานใหม่ตามแบบ ตท.1 พร้อมยกเลิกใบอนุญาตทำงานเดิมก่อนการหมดอายุของวีซ่านั้น จากนั้นให้นำใบรับคำขอจากเจ้าหน้าที่ไปติดต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อขอขยายระยะเวลาวีซ่า และให้นำวีซ่าที่มีการขยายระยะเวลาอนุญาตให้อยู่ต่อในราชอาณาจักรนั้นไปเพิ่มเติมให้กับเจ้าหน้าที่ที่รับแบบคำขอ ตท.1 เพื่อเจ้าหน้าที่จะสามารถพิจารณาการขอรับใบอนุญาตทำงานใหม่ได้ตามกำหนดนัดในใบรับคำขอ มิฉะนั้นวีซ่าจะหมดอายุก่อนการรับใบอนุญาตทำงานใหม่ /หรือ
วิธีที่ 2 ให้คนต่างด้าวเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เพื่อติดต่อขอวีซ่า Non-Immigrant-B ของสถานประกอบการใหม่จากสถานทูตไทย เมื่อเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานใหม่ตามแบบ คำขอ ตท.1 พร้อมการยกเลิกใบอนุญาตทำงานเดิมได้เข่นกัน
ถาม คนต่างด้าวมีวีซ่าประเภทอื่นๆ Non-Immigrant-O (Other) ใช้ขอใบอนุญาตทำงานได้หรือไม่
ตอบ วีซ่าประเภท Non-Immigrant-O ที่นำมาใช้ยื่นขอใบอนุญาตทำงานได้ ดังนี้
- เป็นครอบครัวของผู้มีสัญชาติไทย (เฉพาะบิดา มารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของ คู่สมรส) โดยต้องแสดงหลักฐานประกอบที่เกี่ยวข้อง เข่น ทะเบียนสมรส บัตรประชาชน สูติบัตร เอกสารการรับรองบุตร เป็นต้น
- การปฏิบัติหน้าที่/ภารกิจในครอบครัวของคนต่างด้าว ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 34 แห่ง พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เฉพาะเพื่อการตามที่ระบุใน *หมายเหตุ* โดยเป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว ไม่สามารถขอรับใบอนุญาตทำงานได้ “ เว้นแต่การทำงานเป็นอาสาสมัครไม่มีค่าตอบแทนในองค์กรที่เป็น สาธารณกุศล”
ถาม หากนายจ้างรับคนต่างด้าวเข้าทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานจะมีความผิดอย่างไร
ตอบ นายจ้างรับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 10 , 000 – 100, 000 บาทต่อ คนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน ส่วนคนต่างด้าวที่ทำงานโดยไม่ได้รับในอนุญาตทำงาน ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2, 000 – 100, 000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Tel. +66 (0) 2212-9100 Mobile +66 (0) 81 567-0800 (Khun Issara)
Email : issa_th@yahoo.com
Address : 1120/12 CHAN ROAD (SOI WAT PAI-NGERN), BANGKLO, BANGKORLAEM BANGKOK 10120 THAILAND