ประกาศคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขประกอบการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 แห่งพระราช -

บัญญัติคนเข้าเมือง พ . ศ . 2522 ซึ่งกำหนดให้คนต่างด้าวที่มีความประสงค์จะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร สามารถยื่นคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ต่อคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง

เพื่อให้การเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าว เป็นไปเพื่อประโยชน์ของ

ประเทศสูงสุด คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง จึงกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของคนต่างด้าวซึ่งขอเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร โดยคำนึงถึง รายได้ สินทรัพย์ ความรู้ ความสามารถในด้านวิชาชีพ และฐานะในครอบครัวของคนต่างด้าวดังกล่าวกับบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทย เงื่อนไขเกี่ยวกับความ

มั่นคงของชาติ หรือ เงื่อนไขอื่นตามความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน และเพื่อให้การพิจารณาดังกล่าวเป็นไปด้วยความรอบคอบ บริสุทธิ์ ยุติธรรม ดังต่อไปนี้

ข้อ 1. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับการพิจารณาให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
  1.1 คนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ ต้องถือหนังสือเดินทางที่ได้รับการตรวจลงตราประเภท
คนอยู่ชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA) และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปีมาแล้ว โดยมีรอบเวลาการพำนักไม่น้อยกว่า 3 ปี นับจนถึงวันยื่นคำขอ
  1.2 คนต่างด้าวที่มีอายุสิบสี่ปีขึ้นไป ต้องได้รับการตรวจสอบประวัติดังต่อไปนี้
  1.2.1 พิมพ์ลายนิ้วมือ และกรอกประวัติลงในแบบพิมพ์ลายนิ้วมือคนต่างด้าว ดังกล่าวส่งไปตรวจประวัติที่กองทะเบียนประวัติอาชญากรเพื่อตรวจสอบว่ามีประวัติกระทำผิดหรือไม่
  1.2.2 ตรวจสอบหนังสือรับรองประวัติอาชญากรรมที่คนต่างด้าวนำมาแสดง
  1.2.3 ตรวจสอบว่าคนต่างด้าวดังกล่าวเป็นบุคคลต้องห้าม ตามพระราช - บัญญัติคนเข้าเมือง พ . ศ . 2522 หรือไม่ โดยตรวจสอบจากระบบบัญชีเฝ้าดูของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
  1.2.4 ตรวจสอบว่าเป็นบุคคลที่มีหมายจับของตำรวจสากล จากกองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

 

1.3 คนต่างด้าวต้องแสดงข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ สินทรัพย์ ความรู้ ความสามารถใน

ด้านวิชาชีพ และฐานะในครอบครัวของคนต่างด้าวดังกล่าวกับบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทย หรือเงื่อนไขอื่น

ตามความเหมาะสม เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาอนุญาต

 

1.4 คนต่างด้าวต้องพูดและฟังภาษาไทยได้เข้าใจ

 

 

ข้อ 2.

ประเภทการยื่นคำขอ

 

2.1 ประเภทเข้ามาเพื่อการลงทุน

 

2.2 ประเภทเข้ามาเพื่อทำงาน

 

2.3 ประเภทเข้ามาเพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรม แบ่งเป็น 6 กรณี ดังนี้

2.3.1

กรณีคู่สมรส ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของคู่สมรสผู้มีสัญชาติไทย

2.3.2

กรณีบุตร ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดาผู้มีสัญชาติไทย

2.3.3

กรณีบิดาหรือมารดา ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของบุตรผู้มีสัญชาติไทย

2.3.4

กรณีคู่สมรส ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของคู่สมรสที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราช - อาณาจักรแล้ว

2.3.5

กรณีบุตร ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดาที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราช - อาณาจักรแล้ว

2.3.6

กรณีบิดาหรือมารดา ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของบุตรที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ใน ราชอาณาจักรแล้ว

 

2.4 ประเภทเข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญ

 

2.5 ประเภทกรณีพิเศษเฉพาะราย

 

 

ข้อ 3.

คุณสมบัติของการยื่นคำขอแต่ละประเภท

3.1 คุณสมบัติของการยื่นคำขอประเภทเข้ามาเพื่อการลงทุน มีดังต่อไปนี้

 

3.1.1

เป็นผู้นำเงินเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท โดยมีหนังสือรับรองจากธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ซึ่งแสดงหลักฐานการโอนเงินจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย และ

 

3.1.2

การลงทุนต้องมีลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ รวมกัน ในกรณีดังต่อไปนี้

 

1)

ลงทุนในบริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชนจำกัด โดยต้องมีเอกสารหลักฐานแสดงการลงทุนซึ่งรับรองโดยหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง และกิจการนั้นจะต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย วัฒนธรรม หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ

 

2)

ลงทุนซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ที่กระทรวงการคลังหรือธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ค้ำประกัน โดยแสดงหลักฐานเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ใน พันธบัตรนั้น ๆ หรือ

 

3)

ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เช่น หุ้นสามัญ หุ้นกู้ หรือ หน่วยลงทุน เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติ หรือ รับรองจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พร้อมกับแสดงหลักฐานใบหลักทรัพย์ดังกล่าวข้างต้น

 

3.1.3

คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ฯ แล้ว ต้องแสดงหลักฐานการถือครองการลงทุนต่อคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายภายในเดือนกันยายนของแต่ละปี เป็นระยะเวลาสามปีติดต่อกันนับตั้งแต่วันได้รับอนุญาตให้มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ โดยให้กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการลงทุนดังกล่าวว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองกำหนดไว้หรือไม่ แล้วรายงานให้คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองทราบภายในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี

 

3.1.4

เมื่อตรวจสอบในภายหลังพบว่า คนต่างด้าวรายใดที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแล้ว ขาดคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองกำหนดไว้ ให้กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง รายงานต่อคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง และให้เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อสั่งเพิกถอนการอนุญาตได้

3.2 คุณสมบัติของการยื่นคำขอประเภทเข้ามาเพื่อทำงาน มีดังต่อไปนี้

 

3.2.1

คนต่างด้าวต้องทำงานตำแหน่งระดับผู้บริหาร ซึ่งได้แก่ ตำแหน่งประธานกรรมการ หรือกรรมการของนิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย โดยมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท และมีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลนั้นมาแล้ว เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี นับจนถึงวันที่ยื่นคำร้อง โดยคนต่างด้าวมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 50,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกัน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และ แสดงหลักฐานการเสียภาษีโดยถูกต้อง และ

 

3.2.2

ธุรกิจที่คนต่างด้าวทำงานนั้น เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ อันได้แก่

 

1)

ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการค้าต่างประเทศ โดยเป็นบริษัทที่มียอดเงินตราต่างประเทศในการส่งสินค้าออกในรอบ 3 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท โดยมีหนังสือรับรองจากธนาคารพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นบริษัทให้เงินกู้แก่บริษัทที่ผลิตสินค้าในประเทศ โดยการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในรอบ 3 ปีรวมแล้วไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท หรือ

 

2)

ธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว โดยเป็นบริษัทดำเนินกิจการท่องเที่ยวที่มีผลประกอบการย้อนหลัง 3 ปี แสดงว่าบริษัทได้นำนักท่องเที่ยวเข้ามา เฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่า 5,000 คน โดยมีหนังสือรับรองที่แสดงรายละเอียดจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว หรือ

 

 

3)

ธุรกิจอื่น ๆ ต้องเป็นธุรกิจที่คนต่างด้าวเป็นผู้ถือหุ้นที่ชำระแล้วเต็มมูลค่าในนิติบุคคลนั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ

 

3.2.3

หากคนต่างด้าวไม่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 3.2.1 และ 3.2.2 ต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้

 

 

1)

เป็นผู้มีใบอนุญาตทำงานในประเทศ (WORK PERMIT) มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และ

 

 

2)

ต้องทำงานในบริษัทฯ ที่ยื่นคำขอมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และ

 

 

3)

มีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 80,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกัน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ หรือ มีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกัน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ

3.3 คุณสมบัติของการยื่นคำขอประเภทเข้ามาเพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรมแต่ละกรณี มีดังนี้

  3.3.1 กรณีคู่สมรส ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของคู่สมรสผู้มีสัญชาติไทย มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
  1) ประเภทผู้ให้ความอุปการะทำงานในประเทศไทย
  (1) เป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และมีบุตรด้วยกันจริง ในกรณีที่ไม่สามารถมีบุตรได้ ต้องนำใบรับรองแพทย์ซึ่งแสดงเหตุผลการไม่สามารถมีบุตร จากโรงพยาบาลมาแสดง ส่วนในกรณีที่ไม่มีบุตร และไม่สามารถนำใบรับรองแพทย์มาแสดงถึงเหตุผลการไม่สามารถมีบุตรได้ จะต้องจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี และ
  (2) คู่สมรสคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งสองคนรวมกัน มีรายได้เพียงพอต่อการให้ความอุปการะ โดยมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 30,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกัน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และแสดงหลักฐานการเสียภาษีโดยถูกต้อง และ
  (3) บุคคลสัญชาติไทยแสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ
   
  2) ประเภทผู้ให้ความอุปการะเป็นผู้สูงอายุ
  (1) คนต่างด้าวต้องมีอายุ 50 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และ
  (2) เป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และ
  (3) ผู้ให้ความอุปการะมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 65,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกัน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และ
  (4) บุคคลสัญชาติไทยแสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ
  3.3.2 กรณีบุตร ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรือ อยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดาผู้มีสัญชาติไทย มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
  1) ประเภทบุตรให้ความอุปการะบิดาหรือมารดาผู้มีสัญชาติไทย
  (1) เป็นบุตรโดยหลักสายโลหิต และ
  (2) บิดาหรือมารดาต้องมีอายุ 50 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และ
  (3) ผู้ให้ความอุปการะมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 30,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกัน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และแสดงหลักฐานการเสียภาษีโดยถูกต้อง และ
  (4) บุคคลสัญชาติไทยแสดงความประสงค์ที่จะอยู่ในความอุปการะของคนต่างด้าวที่ยื่น คำขอ
  2) ประเภทบุตรขออยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดาผู้มีสัญชาติไทย
  (1) เป็นบิดาหรือมารดาโดยหลักสายโลหิต และมีการจดทะเบียนรับรองบุตร และ
  (2) เป็นบุตรที่ยังไม่สมรส และอายุต่ำกว่า 20 ปี หากอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ ต้องมีเหตุผลความจำเป็นที่ยังต้องอยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดา เช่น กำลังศึกษาอยู่ในระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรี โดยมีหลักฐานการศึกษามาแสดง และเป็นกรณีที่ได้ศึกษาต่อเนื่องมาก่อนอายุครบ 20 ปี หรือป่วยจนไม่สามารถดูแลตนเองได้ ซึ่งต้องนำใบรับรองแพทย์ที่แสดงผลการป่วยจากโรงพยาบาลมาแสดง และ
  (3) ผู้ให้ความอุปการะมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 30,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกัน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และแสดงหลักฐานการเสียภาษีโดยถูกต้อง และ
  (4) บุคคลสัญชาติไทยแสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ

 

 

3.3.3 กรณีบิดาหรือมารดา ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความ

อุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของบุตรผู้มีสัญชาติไทย

มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

 

 

 

1) ประเภทบิดาหรือมารดาให้ความอุปการะบุตรผู้มีสัญชาติไทย

 

(1)

เป็นบิดาหรือมารดาโดยหลักสายโลหิต และมีการจดทะเบียนรับรองบุตร และ

 

(2)

เป็นบุตรที่ยังไม่สมรส และอายุต่ำกว่า 20 ปี หากอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ ต้องมีเหตุผลความจำเป็นที่ยังต้องอยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดา เช่น กำลังศึกษาอยู่ในระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรี โดยมีหลักฐานการศึกษามาแสดง และเป็นกรณีที่ได้ศึกษาต่อเนื่องมาก่อนอายุครบ 20 ปี หรือป่วยจนไม่สามารถดูแลตนเองได้ ซึ่งต้องนำใบรับรองแพทย์ที่แสดง ผลการป่วยจากโรงพยาบาลมาแสดง และ

 

(3)

ผู้ให้ความอุปการะมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 30,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกัน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และแสดงหลักฐานการเสียภาษีโดยถูกต้อง

 

 

 

2) ประเภทบิดาหรือมารดาขออยู่ในความอุปการะของบุตรผู้มีสัญชาติไทย

 

(1)

เป็นบุตรโดยหลักสายโลหิต และ

 

(2)

บิดาหรือมารดาต้องมีอายุ 50 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และ

 

(3)

ผู้ให้ความอุปการะมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 30,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกัน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และแสดงหลักฐานการเสียภาษีโดยถูกต้อง และ

 

(4)

บุคคลสัญชาติไทยแสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ

  3.3.4 กรณีคู่สมรส ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของคู่สมรสที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ใน ราชอาณาจักรแล้ว มีดังต่อไปนี้
  1) เป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยต้องจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และ
  2) คู่สมรสที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแล้ว แสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะหรืออยู่ในความอุปการะของคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ และ
  3) ผู้ให้ความอุปการะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ยื่นคำขอ ประเภทเข้ามาเพื่อการลงทุน หรือเข้ามาเพื่อทำงาน
  3.3.5 กรณีบุตร ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรือ อยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดาที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ ในราชอาณาจักรแล้ว มีดังต่อไปนี้
  1) ประเภทบุตรให้ความอุปการะบิดาหรือมารดาที่มีถิ่นที่อยู่ฯ แล้ว
  (1) เป็นบุตรโดยหลักสายโลหิต และ
  (2) บิดาหรือมารดาต้องมีอายุ 50 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และ
  (3) บิดาหรือมารดา แสดงความประสงค์ที่จะอยู่ในความอุปการะของคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ และ
  (4) ผู้ให้ความอุปการะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ยื่นคำขอ ประเภทเข้ามาเพื่อการลงทุน หรือ เข้ามาเพื่อทำงาน
  2) ประเภทบุตรขออยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดาที่มีถิ่นที่อยู่ฯ แล้ว
  (1) เป็นบุตรโดยหลักสายโลหิต ที่ยังไม่สมรส และอายุต่ำกว่า 20 ปี หากอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ ต้องมีเหตุผลความจำเป็นที่ยังต้องอยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดา เช่น กำลังศึกษาอยู่ในระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรี โดยมีหลักฐานการศึกษามาแสดง และเป็นกรณีที่ได้ศึกษาต่อเนื่องมาก่อนอายุครบ 20 ปี หรือป่วยจนไม่สามารถ ดูแลตนเองได้ ซึ่งต้องนำใบรับรองแพทย์ที่แสดงผลการป่วยจากโรงพยาบาลมาแสดง และ
  (2) บิดาหรือมารดา แสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ และ
  (3) ผู้ให้ความอุปการะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ยื่นคำขอ ประเภทเข้ามาเพื่อการลงทุน หรือ เข้ามาเพื่อทำงาน

 

 

3.3.6 กรณีบิดาหรือมารดา ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความ

อุปการะหรืออยู่ในความอุปการะของบุตรที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่

อยู่ในราชอาณาจักรแล้ว มีดังต่อไปนี้

 

 

 

1) ประเภทบิดาหรือมารดาให้ความอุปการะบุตรที่มีถิ่นที่อยู่ฯ แล้ว

 

(1)

เป็นบุตรโดยหลักสายโลหิตที่ยังไม่สมรส และอายุต่ำกว่า 20 ปี หากอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ ต้องมีเหตุผลความจำเป็นที่ยังต้องอยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดา เช่น กำลังศึกษาอยู่ในระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรี โดยมีหลักฐานการศึกษามาแสดง และเป็นกรณีที่ได้ศึกษาต่อเนื่องมาก่อนอายุครบ 20 ปี หรือป่วยจนไม่สามารถดูแลตนเองได้ ซึ่งต้องนำใบรับรองแพทย์ที่แสดงผลการป่วยจากโรงพยาบาลมาแสดง และ

 

(2)

บิดาหรือมารดาแสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ และ

 

(3)

ผู้ให้ความอุปการะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ยื่นคำขอ ประเภทเข้ามาเพื่อการลงทุน หรือเข้ามาเพื่อทำงาน

 

 

 

2) ประเภทบิดาหรือมารดาขออยู่ในความอุปการะของบุตรที่มีถิ่นที่อยู่ฯ แล้ว

 

(1)

เป็นบุตรโดยหลักสายโลหิต และ

 

(2)

บิดาหรือมารดาต้องมีอายุ 50 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และ

 

(3)

ผู้ให้ความอุปการะแสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ และ

 

(4)

ผู้ให้ความอุปการะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ยื่นคำขอ ประเภทเข้ามาเพื่อการลงทุน หรือเข้ามาเพื่อทำงาน

3.4 คุณสมบัติของการยื่นคำขอประเภทเข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญ

มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1)

ต้องเป็นบุคคลผู้มีความรู้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และมีความสามารถเป็นพิเศษอยู่ในความต้องการและเป็นประโยชน์ต่อประเทศ และ

2)

ต้องได้รับการสนับสนุนและมีหนังสือรับรองเป็นหลักฐานจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และ

3)

มีหนังสือรับรองซึ่งรับรองการทำงานในหน้าที่การงานนั้น ๆ ระบุระยะเวลาการทำงานอย่างน้อย 3 ปีนับจนถึงวันที่ยื่นคำร้อง

3.5 คุณสมบัติของการยื่นคำขอประเภทกรณีพิเศษเฉพาะราย

มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1)

เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทย หรือ รัฐบาลไทย หรือ ได้รับการคัดเลือกจากสถาบันที่มีชื่อเสียงระดับชาติ อันเชื่อถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีผลงานดีเด่นที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ หรือทำงานให้กับหน่วยงาน และ

2)

มีหนังสือรับรองตั้งแต่ระดับกรม หรือผู้ว่าราชการจังหวัด หรือจากส่วน ราชการ หรือข้าราชการ พลเรือนตั้งแต่ระดับ 10 ขึ้นไป หรือข้าราชการทหาร ตำรวจ ชั้นยศพลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พลตำรวจเอก หรือ ข้าราชการการเมืองที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือรองประธานวุฒิสภา หรือ คณะกรรมการองค์กรอิสระตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยมีรายละเอียดของผลงาน หรือ

3)

คุณสมบัติอื่นใด หรือจำนวนที่จะอนุญาตตามที่คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองเห็นสมควร

ข้อ 4.

หลักการพิจารณา

 

4.1

คนต่างด้าวต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ในประกาศ

คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองฉบับนี้ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติของการยื่นคำขอแต่ละประเภทนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ

 

4.2

ในกรณีที่คนต่างด้าวสัญชาติใดสัญชาติหนึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนตาม 4.1 และ

มีจำนวนเกินกว่าที่กำหนด ให้แบ่งสัดส่วนจำนวนการอนุญาตตามประเภทการยื่นคำขอกับจำนวนของผู้ที่มีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ทั้งหมดของคนต่างด้าวสัญชาตินั้น ๆ

 

อนึ่ง คนต่างด้าวรายใดแม้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด

ไว้ แต่เมื่อพิจารณาถึงความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมของประเทศโดยรวมแล้ว คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจที่จะพิจารณาไม่อนุญาต หรือ ไม่ให้ความเห็นชอบให้คนต่างด้าวผู้นั้นเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรได้ และให้ถือเป็นที่สุด และถือเป็นข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผยตามมาตรา 15 (1) (2) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ . ศ . 2540
 

บรรดาหลักเกณฑ์ มติ หรือคำสั่งอื่นใด ซึ่งใช้ในการประกอบการพิจารณาอนุญาตให้

คนต่างด้าวเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรที่ใช้อยู่เดิม หรือ ซึ่งขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ฉบับนี้ให้ยกเลิก และให้ใช้หลักเกณฑ์ฉบับนี้แทน

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ . ศ . 2546

( นายศิวะ แสงมณี )
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทย
ประธานคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง

Get in touch

Tel. +66 (0) 2212-9100 Mobile +66 (0) 81 567-0800 (Khun Issara)
Email : issa_th@yahoo.com

Address : 1120/12 CHAN ROAD (SOI WAT PAI-NGERN), BANGKLO, BANGKORLAEM BANGKOK 10120 THAILAND