อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 แห่งพระราช -
บัญญัติคนเข้าเมือง พ . ศ . 2522 ซึ่งกำหนดให้คนต่างด้าวที่มีความประสงค์จะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร สามารถยื่นคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ต่อคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง
เพื่อให้การเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าว เป็นไปเพื่อประโยชน์ของ
ประเทศสูงสุด คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง จึงกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของคนต่างด้าวซึ่งขอเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร โดยคำนึงถึง รายได้ สินทรัพย์ ความรู้ ความสามารถในด้านวิชาชีพ และฐานะในครอบครัวของคนต่างด้าวดังกล่าวกับบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทย เงื่อนไขเกี่ยวกับความ
มั่นคงของชาติ หรือ เงื่อนไขอื่นตามความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน และเพื่อให้การพิจารณาดังกล่าวเป็นไปด้วยความรอบคอบ บริสุทธิ์ ยุติธรรม ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. |
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับการพิจารณาให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร |
|
1.1 คนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ ต้องถือหนังสือเดินทางที่ได้รับการตรวจลงตราประเภท |
คนอยู่ชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA) และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปีมาแล้ว โดยมีรอบเวลาการพำนักไม่น้อยกว่า 3 ปี นับจนถึงวันยื่นคำขอ |
|
1.2 คนต่างด้าวที่มีอายุสิบสี่ปีขึ้นไป ต้องได้รับการตรวจสอบประวัติดังต่อไปนี้ |
|
1.2.1 |
พิมพ์ลายนิ้วมือ และกรอกประวัติลงในแบบพิมพ์ลายนิ้วมือคนต่างด้าว ดังกล่าวส่งไปตรวจประวัติที่กองทะเบียนประวัติอาชญากรเพื่อตรวจสอบว่ามีประวัติกระทำผิดหรือไม่ |
|
1.2.2 |
ตรวจสอบหนังสือรับรองประวัติอาชญากรรมที่คนต่างด้าวนำมาแสดง |
|
1.2.3 |
ตรวจสอบว่าคนต่างด้าวดังกล่าวเป็นบุคคลต้องห้าม ตามพระราช - บัญญัติคนเข้าเมือง พ . ศ . 2522 หรือไม่ โดยตรวจสอบจากระบบบัญชีเฝ้าดูของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง |
|
1.2.4 |
ตรวจสอบว่าเป็นบุคคลที่มีหมายจับของตำรวจสากล จากกองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
|
1.3 คนต่างด้าวต้องแสดงข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ สินทรัพย์ ความรู้ ความสามารถใน |
|
ด้านวิชาชีพ และฐานะในครอบครัวของคนต่างด้าวดังกล่าวกับบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทย หรือเงื่อนไขอื่น
ตามความเหมาะสม เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาอนุญาต |
|
|
1.4 คนต่างด้าวต้องพูดและฟังภาษาไทยได้เข้าใจ |
|
|
|
|
ข้อ 2. |
ประเภทการยื่นคำขอ |
|
|
2.1 ประเภทเข้ามาเพื่อการลงทุน |
|
|
2.2 ประเภทเข้ามาเพื่อทำงาน |
|
|
2.3 ประเภทเข้ามาเพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรม แบ่งเป็น 6 กรณี ดังนี้ |
|
2.3.1 |
กรณีคู่สมรส ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของคู่สมรสผู้มีสัญชาติไทย |
2.3.2 |
กรณีบุตร ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดาผู้มีสัญชาติไทย |
2.3.3 |
กรณีบิดาหรือมารดา ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของบุตรผู้มีสัญชาติไทย |
2.3.4 |
กรณีคู่สมรส ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของคู่สมรสที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราช - อาณาจักรแล้ว |
2.3.5 |
กรณีบุตร ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดาที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราช - อาณาจักรแล้ว |
2.3.6 |
กรณีบิดาหรือมารดา ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของบุตรที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ใน ราชอาณาจักรแล้ว |
|
2.4 ประเภทเข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญ |
|
|
2.5 ประเภทกรณีพิเศษเฉพาะราย |
|
|
|
ข้อ 3. |
คุณสมบัติของการยื่นคำขอแต่ละประเภท |
3.1 คุณสมบัติของการยื่นคำขอประเภทเข้ามาเพื่อการลงทุน มีดังต่อไปนี้
|
3.1.1 |
เป็นผู้นำเงินเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท โดยมีหนังสือรับรองจากธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ซึ่งแสดงหลักฐานการโอนเงินจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย และ |
|
3.1.2 |
การลงทุนต้องมีลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ รวมกัน ในกรณีดังต่อไปนี้ |
|
1) |
ลงทุนในบริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชนจำกัด โดยต้องมีเอกสารหลักฐานแสดงการลงทุนซึ่งรับรองโดยหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง และกิจการนั้นจะต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย วัฒนธรรม หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ |
|
2) |
ลงทุนซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ที่กระทรวงการคลังหรือธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ค้ำประกัน โดยแสดงหลักฐานเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ใน พันธบัตรนั้น ๆ หรือ |
|
3) |
ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เช่น หุ้นสามัญ หุ้นกู้ หรือ หน่วยลงทุน เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติ หรือ รับรองจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พร้อมกับแสดงหลักฐานใบหลักทรัพย์ดังกล่าวข้างต้น |
|
3.1.3 |
คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ฯ แล้ว ต้องแสดงหลักฐานการถือครองการลงทุนต่อคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายภายในเดือนกันยายนของแต่ละปี เป็นระยะเวลาสามปีติดต่อกันนับตั้งแต่วันได้รับอนุญาตให้มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ โดยให้กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการลงทุนดังกล่าวว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองกำหนดไว้หรือไม่ แล้วรายงานให้คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองทราบภายในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี |
|
3.1.4 |
เมื่อตรวจสอบในภายหลังพบว่า คนต่างด้าวรายใดที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแล้ว ขาดคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองกำหนดไว้ ให้กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง รายงานต่อคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง และให้เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อสั่งเพิกถอนการอนุญาตได้ |
3.2 คุณสมบัติของการยื่นคำขอประเภทเข้ามาเพื่อทำงาน มีดังต่อไปนี้
|
3.2.1 |
คนต่างด้าวต้องทำงานตำแหน่งระดับผู้บริหาร ซึ่งได้แก่ ตำแหน่งประธานกรรมการ หรือกรรมการของนิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย โดยมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท และมีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลนั้นมาแล้ว เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี นับจนถึงวันที่ยื่นคำร้อง โดยคนต่างด้าวมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 50,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกัน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และ แสดงหลักฐานการเสียภาษีโดยถูกต้อง และ |
|
3.2.2 |
ธุรกิจที่คนต่างด้าวทำงานนั้น เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ อันได้แก่ |
|
|
1) |
ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการค้าต่างประเทศ โดยเป็นบริษัทที่มียอดเงินตราต่างประเทศในการส่งสินค้าออกในรอบ 3 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท โดยมีหนังสือรับรองจากธนาคารพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นบริษัทให้เงินกู้แก่บริษัทที่ผลิตสินค้าในประเทศ โดยการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในรอบ 3 ปีรวมแล้วไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท หรือ |
|
|
2) |
ธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว โดยเป็นบริษัทดำเนินกิจการท่องเที่ยวที่มีผลประกอบการย้อนหลัง 3 ปี แสดงว่าบริษัทได้นำนักท่องเที่ยวเข้ามา เฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่า 5,000 คน โดยมีหนังสือรับรองที่แสดงรายละเอียดจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว หรือ |
|
|
3) |
ธุรกิจอื่น ๆ ต้องเป็นธุรกิจที่คนต่างด้าวเป็นผู้ถือหุ้นที่ชำระแล้วเต็มมูลค่าในนิติบุคคลนั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ |
|
3.2.3 |
หากคนต่างด้าวไม่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 3.2.1 และ 3.2.2 ต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้ |
|
|
1) |
เป็นผู้มีใบอนุญาตทำงานในประเทศ (WORK PERMIT) มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และ |
|
|
2) |
ต้องทำงานในบริษัทฯ ที่ยื่นคำขอมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และ |
|
|
3) |
มีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 80,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกัน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ หรือ มีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกัน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ |
3.3 คุณสมบัติของการยื่นคำขอประเภทเข้ามาเพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรมแต่ละกรณี มีดังนี้
|
3.3.1 กรณีคู่สมรส ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของคู่สมรสผู้มีสัญชาติไทย มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ |
|
1) ประเภทผู้ให้ความอุปการะทำงานในประเทศไทย |
|
(1) |
เป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และมีบุตรด้วยกันจริง ในกรณีที่ไม่สามารถมีบุตรได้ ต้องนำใบรับรองแพทย์ซึ่งแสดงเหตุผลการไม่สามารถมีบุตร จากโรงพยาบาลมาแสดง ส่วนในกรณีที่ไม่มีบุตร และไม่สามารถนำใบรับรองแพทย์มาแสดงถึงเหตุผลการไม่สามารถมีบุตรได้ จะต้องจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี และ |
|
(2) |
คู่สมรสคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งสองคนรวมกัน มีรายได้เพียงพอต่อการให้ความอุปการะ โดยมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 30,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกัน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และแสดงหลักฐานการเสียภาษีโดยถูกต้อง และ |
|
(3) |
บุคคลสัญชาติไทยแสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ |
|
|
|
2) ประเภทผู้ให้ความอุปการะเป็นผู้สูงอายุ |
|
(1) |
คนต่างด้าวต้องมีอายุ 50 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และ |
|
(2) |
เป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และ |
|
(3) |
ผู้ให้ความอุปการะมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 65,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกัน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และ |
|
(4) |
บุคคลสัญชาติไทยแสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ |
|
3.3.2 กรณีบุตร ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรือ อยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดาผู้มีสัญชาติไทย มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ |
|
1) ประเภทบุตรให้ความอุปการะบิดาหรือมารดาผู้มีสัญชาติไทย |
|
(1) |
เป็นบุตรโดยหลักสายโลหิต และ |
|
(2) |
บิดาหรือมารดาต้องมีอายุ 50 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และ |
|
(3) |
ผู้ให้ความอุปการะมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 30,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกัน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และแสดงหลักฐานการเสียภาษีโดยถูกต้อง และ |
|
(4) |
บุคคลสัญชาติไทยแสดงความประสงค์ที่จะอยู่ในความอุปการะของคนต่างด้าวที่ยื่น คำขอ |
|
2) ประเภทบุตรขออยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดาผู้มีสัญชาติไทย |
|
(1) |
เป็นบิดาหรือมารดาโดยหลักสายโลหิต และมีการจดทะเบียนรับรองบุตร และ |
|
(2) |
เป็นบุตรที่ยังไม่สมรส และอายุต่ำกว่า 20 ปี หากอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ ต้องมีเหตุผลความจำเป็นที่ยังต้องอยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดา เช่น กำลังศึกษาอยู่ในระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรี โดยมีหลักฐานการศึกษามาแสดง และเป็นกรณีที่ได้ศึกษาต่อเนื่องมาก่อนอายุครบ 20 ปี หรือป่วยจนไม่สามารถดูแลตนเองได้ ซึ่งต้องนำใบรับรองแพทย์ที่แสดงผลการป่วยจากโรงพยาบาลมาแสดง และ |
|
(3) |
ผู้ให้ความอุปการะมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 30,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกัน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และแสดงหลักฐานการเสียภาษีโดยถูกต้อง และ |
|
(4) |
บุคคลสัญชาติไทยแสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ |
|
3.3.3 กรณีบิดาหรือมารดา ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความ
อุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของบุตรผู้มีสัญชาติไทย
มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ |
|
|
|
1) ประเภทบิดาหรือมารดาให้ความอุปการะบุตรผู้มีสัญชาติไทย |
|
(1) |
เป็นบิดาหรือมารดาโดยหลักสายโลหิต และมีการจดทะเบียนรับรองบุตร และ |
|
(2) |
เป็นบุตรที่ยังไม่สมรส และอายุต่ำกว่า 20 ปี หากอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ ต้องมีเหตุผลความจำเป็นที่ยังต้องอยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดา เช่น กำลังศึกษาอยู่ในระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรี โดยมีหลักฐานการศึกษามาแสดง และเป็นกรณีที่ได้ศึกษาต่อเนื่องมาก่อนอายุครบ 20 ปี หรือป่วยจนไม่สามารถดูแลตนเองได้ ซึ่งต้องนำใบรับรองแพทย์ที่แสดง ผลการป่วยจากโรงพยาบาลมาแสดง และ |
|
(3) |
ผู้ให้ความอุปการะมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 30,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกัน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และแสดงหลักฐานการเสียภาษีโดยถูกต้อง |
|
|
|
2) ประเภทบิดาหรือมารดาขออยู่ในความอุปการะของบุตรผู้มีสัญชาติไทย |
|
(1) |
เป็นบุตรโดยหลักสายโลหิต และ |
|
(2) |
บิดาหรือมารดาต้องมีอายุ 50 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และ |
|
(3) |
ผู้ให้ความอุปการะมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 30,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกัน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และแสดงหลักฐานการเสียภาษีโดยถูกต้อง และ |
|
(4) |
บุคคลสัญชาติไทยแสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ |
|
3.3.4 กรณีคู่สมรส ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของคู่สมรสที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ใน ราชอาณาจักรแล้ว มีดังต่อไปนี้ |
|
|
1) |
เป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยต้องจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และ |
|
|
2) |
คู่สมรสที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแล้ว แสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะหรืออยู่ในความอุปการะของคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ และ |
|
|
3) |
ผู้ให้ความอุปการะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ยื่นคำขอ ประเภทเข้ามาเพื่อการลงทุน หรือเข้ามาเพื่อทำงาน |
|
|
3.3.5 กรณีบุตร ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรือ อยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดาที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ ในราชอาณาจักรแล้ว มีดังต่อไปนี้ |
|
|
1) ประเภทบุตรให้ความอุปการะบิดาหรือมารดาที่มีถิ่นที่อยู่ฯ แล้ว |
|
|
(1) |
เป็นบุตรโดยหลักสายโลหิต และ |
|
(2) |
บิดาหรือมารดาต้องมีอายุ 50 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และ |
|
(3) |
บิดาหรือมารดา แสดงความประสงค์ที่จะอยู่ในความอุปการะของคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ และ |
|
(4) |
ผู้ให้ความอุปการะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ยื่นคำขอ ประเภทเข้ามาเพื่อการลงทุน หรือ เข้ามาเพื่อทำงาน |
|
2) ประเภทบุตรขออยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดาที่มีถิ่นที่อยู่ฯ แล้ว |
|
(1) |
เป็นบุตรโดยหลักสายโลหิต ที่ยังไม่สมรส และอายุต่ำกว่า 20 ปี หากอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ ต้องมีเหตุผลความจำเป็นที่ยังต้องอยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดา เช่น กำลังศึกษาอยู่ในระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรี โดยมีหลักฐานการศึกษามาแสดง และเป็นกรณีที่ได้ศึกษาต่อเนื่องมาก่อนอายุครบ 20 ปี หรือป่วยจนไม่สามารถ ดูแลตนเองได้ ซึ่งต้องนำใบรับรองแพทย์ที่แสดงผลการป่วยจากโรงพยาบาลมาแสดง และ |
|
(2) |
บิดาหรือมารดา แสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ และ |
|
(3) |
ผู้ให้ความอุปการะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ยื่นคำขอ ประเภทเข้ามาเพื่อการลงทุน หรือ เข้ามาเพื่อทำงาน |
|
3.3.6 กรณีบิดาหรือมารดา ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความ
อุปการะหรืออยู่ในความอุปการะของบุตรที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่
อยู่ในราชอาณาจักรแล้ว มีดังต่อไปนี้ |
|
|
|
1) ประเภทบิดาหรือมารดาให้ความอุปการะบุตรที่มีถิ่นที่อยู่ฯ แล้ว |
|
(1) |
เป็นบุตรโดยหลักสายโลหิตที่ยังไม่สมรส และอายุต่ำกว่า 20 ปี หากอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ ต้องมีเหตุผลความจำเป็นที่ยังต้องอยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดา เช่น กำลังศึกษาอยู่ในระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรี โดยมีหลักฐานการศึกษามาแสดง และเป็นกรณีที่ได้ศึกษาต่อเนื่องมาก่อนอายุครบ 20 ปี หรือป่วยจนไม่สามารถดูแลตนเองได้ ซึ่งต้องนำใบรับรองแพทย์ที่แสดงผลการป่วยจากโรงพยาบาลมาแสดง และ |
|
(2) |
บิดาหรือมารดาแสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ และ |
|
(3) |
ผู้ให้ความอุปการะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ยื่นคำขอ ประเภทเข้ามาเพื่อการลงทุน หรือเข้ามาเพื่อทำงาน |
|
|
|
2) ประเภทบิดาหรือมารดาขออยู่ในความอุปการะของบุตรที่มีถิ่นที่อยู่ฯ แล้ว |
|
(1) |
เป็นบุตรโดยหลักสายโลหิต และ |
|
(2) |
บิดาหรือมารดาต้องมีอายุ 50 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และ |
|
(3) |
ผู้ให้ความอุปการะแสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ และ |
|
(4) |
ผู้ให้ความอุปการะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ยื่นคำขอ ประเภทเข้ามาเพื่อการลงทุน หรือเข้ามาเพื่อทำงาน |
3.4 คุณสมบัติของการยื่นคำขอประเภทเข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญ
มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1) |
ต้องเป็นบุคคลผู้มีความรู้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และมีความสามารถเป็นพิเศษอยู่ในความต้องการและเป็นประโยชน์ต่อประเทศ และ |
2) |
ต้องได้รับการสนับสนุนและมีหนังสือรับรองเป็นหลักฐานจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และ |
3) |
มีหนังสือรับรองซึ่งรับรองการทำงานในหน้าที่การงานนั้น ๆ ระบุระยะเวลาการทำงานอย่างน้อย 3 ปีนับจนถึงวันที่ยื่นคำร้อง |
3.5 คุณสมบัติของการยื่นคำขอประเภทกรณีพิเศษเฉพาะราย
มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1) |
เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทย หรือ รัฐบาลไทย หรือ ได้รับการคัดเลือกจากสถาบันที่มีชื่อเสียงระดับชาติ อันเชื่อถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีผลงานดีเด่นที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ หรือทำงานให้กับหน่วยงาน และ |
2) |
มีหนังสือรับรองตั้งแต่ระดับกรม หรือผู้ว่าราชการจังหวัด หรือจากส่วน ราชการ หรือข้าราชการ พลเรือนตั้งแต่ระดับ 10 ขึ้นไป หรือข้าราชการทหาร ตำรวจ ชั้นยศพลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พลตำรวจเอก หรือ ข้าราชการการเมืองที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือรองประธานวุฒิสภา หรือ คณะกรรมการองค์กรอิสระตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยมีรายละเอียดของผลงาน หรือ |
3) |
คุณสมบัติอื่นใด หรือจำนวนที่จะอนุญาตตามที่คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองเห็นสมควร |
ข้อ 4. |
หลักการพิจารณา |
|
4.1 |
คนต่างด้าวต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ในประกาศ |
คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองฉบับนี้ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติของการยื่นคำขอแต่ละประเภทนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ |
|
4.2 |
ในกรณีที่คนต่างด้าวสัญชาติใดสัญชาติหนึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนตาม 4.1 และ |
มีจำนวนเกินกว่าที่กำหนด ให้แบ่งสัดส่วนจำนวนการอนุญาตตามประเภทการยื่นคำขอกับจำนวนของผู้ที่มีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ทั้งหมดของคนต่างด้าวสัญชาตินั้น ๆ |
|
อนึ่ง คนต่างด้าวรายใดแม้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด |
ไว้ แต่เมื่อพิจารณาถึงความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมของประเทศโดยรวมแล้ว คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจที่จะพิจารณาไม่อนุญาต หรือ ไม่ให้ความเห็นชอบให้คนต่างด้าวผู้นั้นเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรได้ และให้ถือเป็นที่สุด และถือเป็นข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผยตามมาตรา 15 (1) (2) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ . ศ . 2540 |
|
บรรดาหลักเกณฑ์ มติ หรือคำสั่งอื่นใด ซึ่งใช้ในการประกอบการพิจารณาอนุญาตให้ |
คนต่างด้าวเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรที่ใช้อยู่เดิม หรือ ซึ่งขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ฉบับนี้ให้ยกเลิก และให้ใช้หลักเกณฑ์ฉบับนี้แทน |
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ . ศ . 2546
( นายศิวะ แสงมณี )
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทย
ประธานคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง |