เพื่อให้การพิจารณาอนุญาติการทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา ๗ และมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นไปโดยรอบคอบตรงตามเจตนารมณ์ของกฏหมายสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาติการทำงานคนต่างด้าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติระ เบียบบริหารราชการแผ่นดิน (แฉบับที่ ๕ ) พ.ศ. ๒๕๔๕ อธิบดีกรมการจัดหางานจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณษอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๗ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
( ๑) ระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
( ๒) ระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
( ๓) ระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๔๖ ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖
ข้อ ๔ การออกใบอนุญาตให้กับคนต่างด้าวตามมาตรา ๗ และมาตรา ๘ ให้พิจารณาอนุญาตตามความจำเป็นและความเหมาะสมโดยคำนึงถึง
( ๑) ความมั่นคงภานฃยในราชอาณาจักรด้านการเมือง ศาสนา เศรษฐกิจและสังคม
( ๒) การปกป้องมิให้คนต่างด้าวเข้ามาแย่งอาชีพที่คนไทยมีความรู้ความสามารถที่จะทำได้ และมีอำนาจเพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงานภายในราชอาณาจักร
( ๓) ประโยชน์จากการอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในตำแหน่งงานนนั้นก่อให้เกิดการนำเงินตราตางประเทศเข้ามาลงทุนหรือใช้จายในประเทศจำนวนมาก ก่อให้เกิดการจ้างงานคนไทยจำนวนมาก หรือเป็นตำแหน่งที่ต้องใช้ความรู้ความชำนาญในวิทยาการสมัยที่เป็นประโยชน์ต่อการกัมนาเศรษฐกิจของประเทศ และมีการถ่ายทอดให้คนไทย
( ๔) การพัฒนาทักาะฝีมือที่คนไทยจะได้รับจากการที่คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานได้ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ วิธีการ รายละเอียดที่เกี่ยวข้องของเครื่องจักร เครื่องมือ และความรู้ความชำนาญในงานวิจัยการสมัยใหม่ให้แก่คนไทยในงานนั้น
( ๕) หลักมนุษยธรรม
ข้อ ๕ การพิจารณาออกใบอนุญาตตามข้อ ๔ ให้อนุญาตได้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
( ๑) คนต่างด้าวเข้ามาปฏิบัติงานในสถาบันการเงินในการกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือกระทรวงการคลัง หรือหนวยงานของรัฐซึ่งกำกับดูแลสถาบันการเงิน โดยมีหนังสือรับรองจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือระทรวงการคลัง หรือหน่วยงานของรัฐซึ่งกำกับดูแลสถาบันการเงิน ให้อนุญาตตามจำนวนที่กำหนดไว้ในหนังสือรับรอง
( ๒) คนต่างด้าวตามที่มีหนังสือรับรองจากราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชนตามกฏหมายว่าด้วยแงค์การมหาชน ที่เกี่ยงข้องซึ่งระบุชื่อตำแหน่งงาน และระยะเวลาการทำงานขงคนต่างด้าวนั้น
( ๓) คนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างที่มีขนาดการลงทุนจากทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่าสองล้านบาท โดยทุก ๆ สองล้านบาทให้อนุญาตได่ฃ้หนึ่งคน หรือนายจ้างจดทะเบียนนิติบุคคลในต่างประเทศและเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยก่อนวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๕ ที่ไม่มีหลักฐานการนำเงินเข้ามาจากต่างประเทศให้พิจารณาจากขนาดของการลงทุนจากจำนวนเงินคงเหลือตามที่ปรากฏในรายการเคลื่อนไหวทางบัญชีธนาคารย้อนหลังหกเดือน จำนวนตั้งแต่สามล้านบาทขึ้นไป โดยทุก ๆ ทสามล้านบามได้อนุญาตได้หนึ่งคน เว้นแต่คนต่างด้าวมีคู่สมรสเป็นคนไทยซึ่งจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฏหมายและกินอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยาโดยเปิดเผย ขนาดของการลงทุนตามที่กำหนดไว้ให้ลดลงกึ่งหนึ่ง ทั้งนี้ให้อนุญาตได้ไม่เกินสิบคนเว้นแต่การพิจารณาอนุญาตตามความเหมาะสมในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
( ก) ทำงานกับนายจ้างที่ได้ชำระภาษีเงินได้ให้แก่รัฐในรอบปีที่ผ่านมาไม่น้อยกว่าสามล้านบาท
( ข) ทำงานกับนายจ้างที่ดำเนินธุรกิจส่งออกสินค้าไปต่างประเทศและนำเงินตรต่างประเทศเข้าประเทศไม่น้อยกว่าสามสิบล้านบาทขึ้นไปในปีที่ผ่านมา
( ค) ทำงานกับนายจ้างที่ดำเนินธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งนำชาวต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ไม่น้อยกว่าห้าพันคนในรอบปีที่ผ่านมา
( ง) ทำงานับนายจ้างที่มีการจ้างงานคนไทยไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน
( ๔) คนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างที่มีขนาดของการลงทุนจากทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่าสองล้านบาท หรือนายจ้างจดทะเบียนนิติบุคคลในต่างประเทศและเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยที่มีขนาดของการลงทุนจากเงินที่นำมาจากต่างประเทศไม่ต่ำกว่าสามล้านยาท ในลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังต่อไปนี้มิให้นำข้อจำกัดในเรื่องจำนวนคนต่างด้าวตามความในข้อ ๕ ( ๓) มาใช้บังคับ
( ก) คนต่างด้าวทำงานที่ใช้เทคโนโลยีซึ่งคนไทยยังทำไม่ได้ หรือมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงานภายในประเทศ โดยให้มีการถ่ายทอดให้แก่คนไทยอย่างน้อยสองคน ภายในระยะเวลาที่กำหนด
( ข) คนต่างด้าวทำงานโดยใช้ความรู้ความชำนาญเฉพาะทางเพื่อให้งานสำเร็จภายใต้โครงการที่มีระยะเวลากำหนดไว้แน่นอน
( ๕) คนต่างด้าวทำงานในมูลนิธิ สมาคม หรือองค์การอื่นที่มีวัตถุประสงค์ไม่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจหรือเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยส่วนรวม มิให้นำหลักเกณฑ์ในข้อ ๕(๓) มาใช้บังคับ
( ๖) คนต่างด้าวที่เข้ามาประจำสำนักงานผู้แทนนิติบุคคลต่างประเทศในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเข้ามาให้คำแนะนำในด้านต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าของสำนักงานใหญ่ที่จำหน่ายแก่ตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ใช้สินค้า การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการใหม่ของสำนักงานใหญ่ และการรายงานความเคลื่อนไหวทางธุรกิจในประเทศไทยให้สำนักงานใหญ่ทราบให้อนุญาตได้ไม่เกินสองคน คนต่างด้าวที่เข้ามาหาแหล่งจัดซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศไทยให้สำนักงานใหญ่ การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพและปริมาณของสินค้าที่สำนักงานใหญ่ซื้อหรือจ้างผลิตในประเทศไทยให้อนุญาตได้ไม่เกินห้าคน เว้นแต่สำนักงานผู้แทนนั้นสามารถหาแหล่งจัดซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศไทยมีมูลค่าการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการในรอบปีที่ผ่านมาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท
( ๗) คนต่างด้าวที่เข้ามาประจำสำนักงานภูมิภาคของนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายของต่างประเทศและเข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศอื่น เพื่อให้บริการในด้านต่างๆ ได้แก่ การติดต่อประสานงานและการกำกับการดำเนินงานของสาขาหรือบริษัทใรเครือที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันแทนสำนักงานใหญ่ การให้คำปรึกษาหรือบริการในการจัดการฝึกอบรมและพัฒนาบุคคล การจัดการด้านการเงินและควบคุมการตลาดและการวางแผนส่งเสริมการขาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการวิจัยพัฒนาโดยไม่มีรายได้จากการให้บริการนั้นและไม่มีอำนาจรับคำสั่งซื้อหรือเสนอขายหรือเจรจาทำธุรกิจกับบุคคลหรือนิติบุคคลในประเทศที่เข้าไปตั้ง ทั้งนี้ โดยได้รับเงินค่าใช้จ่ายในสำนักงานจากสำนักงานใหญ่เท่านั้นให้อนุญาตได้ไม่เกินห้าคน เว้นแต่สำนักงานภูมิภาคนั้นนำเงินเข้ามาใช้จ่ายในประเทศไทยในรอบปีที่ผ่านมาไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท
ข้อ ๖ การพิจารราออกใบอนุญาตตามข้อ ๔ ให้กับคนต่างด้าวซึ่งขออนุญาตทำงานกับนายจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมิใช่นายจ้างที่มีลักษณะตามข้อ ๕ ให้อนุญาตได้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
( ๑) คนต่าางด้าวทำงานกับนายจ้างที่มีรายได้จากการประกอบกิจการในรอบปีที่ผ่านมาหรือปีปัจจุบันทุก ๆ เจ็ดแสนบาทให้อนุญาตได้หนึ่งคน ทั้งนี้ไม่เกินสาทคน
( ๒) คนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างที่ได้ชำระภาษีเงินได้ให้แก่รัฐในรอบปีที่ผ่านมาทุกๆห้าหมื่นบาทให้อนุญาตได้หนึ่งคน ทั้งนี้ไม่เกินสามคน
( ๓) คนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างที่มีการจ้างคนไทยทุกสี่คนให้อนุญาตได้หนึ่งคนทั้งนี้ไม่เกินสามคน
หลักเกณฑ์ตามความในวรรคหนึ่งให้ลดกึ้ฃ่งหนึ่งในกรณีที่คนต่างด้าวผู้ขอใบอนุญาตมีคู่สมรสเป็นคนไทยซึ่งจดทะเบียนสมรส โดยถูกต้องตามกฏหมายและอยู่กินร่วมกันฉันท์สามีภรรยาโดยเปิดเผย
ข้อ ๗ การพิจารณาอกใบอนุญาตตามข้อ ๔ ให้กับคนต่างด้าวซึ่งขออนุญาตทำงานให้บริการทางกฏหมายหรืออรรถคดี ให้อนุญาตได้ตามจำนวนที่คู่กรณีตกลงกันในงานดังต่อไปนี้
( ๑) งานปฏิบัติหน้าที่ให้อนุญาตโตตุลาการ
( ๒) งานว่าต่างแก้ต่างในชั้นอนุญาโตตุลาการ ถ้ากฏหมายซึ่งใช้บังคับแก่ข้อพิพาทที่พิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการนั้นมิใช่กฏหมายไทย หรือเป็นกรณีที่ไม่ต้องขอบังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นในราชอาณาจักรไทย
ข้อ ๘ การพิจารณาอนุญาตนอกเหนือจากกรณีหรือหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เป็นอำนาจของอธิบดี
ข้อ ๙ บรรดาคำขอที่เจ้าหน้าที่ได้รับไว้ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ปฏิบัติตามระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.๒๕๔๕ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๕ ระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ และระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว(ฉบับที่ ๓ ) พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖
ข้อ ๑๐ ให้อธิบดีกรมการจัดหางานเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๗
( นายจุฑาธวัช อินทรสุขศรี)
อธิบดีกรมการจัดหางาน
* ข้อมูลจากกรมการจัดหางาน
คำถาม คำตอบที่พบบ่อย
การขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าวระดับฝีมือ ชำนาญการ
ถาม การขอใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวระดับฝีมือ ได้แก่ ผู้มีฝีมือ/ผู้ชำนาญการ/ผู้บริหาร ทำอย่างไร
ตอบ คนต่างด้าวที่อยู่ต่างประเทศต้องไปติดต่อขอวีซ่าประเภท Non-Immigrant-B ที่สถานทูตไทยประจำประเทศที่คนต่างด้าวพำนักอยู่ และเมื่อคนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทยแล้วให้ติดต่อยื่น คำขอรับใบอนุญาตทำงาน ณ สำนักงานของกรมการจัดหางานที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ได้แก่ ในกรุงเทพมหานคร ติดต่อ สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว และในต่างจังหวัดติดต่อสำนักงานจัดหางานจังหวัด โดยให้ยื่นเอกสารการขอรับใบอนุญาตทำงานตามแบบคำขอ ตท.1 ซึ่งติดต่อขอรายละเอียดพร้อมแบบคำขอได้ที่สำนักงานดังกล่าว หรือจาก wp.doe.go.th หลังจากกรอกแบบคำขอ ตท.1 พร้อมยื่นเอกสารประกอบคำขอเรียบร้อยสมบูรณ์แล้วจะทราบผลการอนุญาตทำงานภายใน ๗ วันทำการ โดยคนต่างด้าวและนายจ้างเจ้าของสถานประกอบการอาจมอบอำนาจให้พนักงานคนไทยดำเนินการยื่นคำขอแทนได้ และเมื่อ คนต่างด้าวได้รับการพิจารณาอนุญาตให้ทำงานได้ คนต่างด้าวต้องไปรับใบอนุญาตทำงานด้วยตนเอง
หากคนต่างด้าวที่อยู่ต่างประเทศไปติดต่อขอวีซ่าประเภท Non-Immigrant-B ที่สถานทูตไทยในต่างประเทศพร้อมแสดงเอกสารการดำเนินธุรกิจของสถานประกอบการและสัญญาจ้างคนต่างด้าวรับเข้าทำงานแล้ว หากยังไม่ได้รับวีซ่าประเภท Non-Immigrant-B อีก และสถานทูตไทยยังต้องการหนังสือรับรองการอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานจากกระทรวงแรงงาน จึงต้องให้นายจ้างดำเนินการยื่นแบบคำขอ ตท.3 พร้อมแสดงเอกสารประกอบการยื่นคำขอรับหนังสือแจ้งผลการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงาน ยื่นได้ที่สำนักงานของกรมการจัดหางานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคตามสถานที่ตั้งของสถานประกอบการนั้นตั้งอยู่ โดยนายจ้างเจ้าของสถานประกอบการอาจมอบอำนาจให้พนักงานคนไทยดำเนินการยื่นคำขอแทนได้ แล้วสำนักงานฯ จะออกหนังสือแจ้งผลพิจารณาการอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานภายใน ๗ วันทำการ หลังจากนายจ้างได้รับหนังสือแจ้งผลพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาทำงานได้แล้ว จึงส่งไปให้คนต่างด้าวที่อยู่ในต่างประเทศนำไปที่สถานทูตไทยในประเทศนั้นเพื่อยื่นขอวีซ่า Non-Immigrant-B และเมื่อคนต่างด้าว เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทยแล้ว คนต่างด้าวหรือผู้รับมอบอำนาจต้องไปติดต่อยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานพร้อมแสดงเอกสารตามที่กำหนดไว้ในหนังสือดังกล่าวที่สำนักงานฯ ภายใน 30 วันนับจากวันที่รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณานั้น และคนต่างด้าวจะได้รับเล่มใบอนุญาตทำงานภายใน 3 วันทำการ โดยในวันที่รับใบอนุญาตทำงานคนต่างด้าวต้องไปรับใบอนุญาตทำงานด้วยตนเอง
ทั้งนี้ สามารถค้นหารายละเอียดข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้จาก wp.doe.go.th แล้วเข้าเมนู เกี่ยวกับการขอทำงาน
ถาม สถานที่ติดต่อรับใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว ติดต่อที่ใดได้บ้าง
ตอบ
1. กรุงเทพมหานคร ติดต่อสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี ดินแดง กรุงเทพฯ
2. ต่างจังหวัด ติดต่อสำนักงานจัดหางานจังหวัดประจำจังหวัดที่สถานประกอบตั้งอยู่
ถาม การออกใบอนุญาตทำงานมีหลักเกณฑ์/เงื่อนไขในการพิจารณาอย่างได
ตอบ แนวทางการพิจารณาออกใบอนุญาตทำงานให้คนต่างด้าวภายใต้กฎหมาย กฎระเบียบและหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 ตามมาตรา 9 โดยคนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงานต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (Non-Immigrant Visa) ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางผ่าน (Tourist/Transit)
2. พระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 จำนวน 39 อาชีพ ได้แก่
- งานกรรมกร
- งานกสิกรรม งานเลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรืองานประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญงานเฉพาะสาขา หรืองานควบคุมดูแลฟาร์ม
- งานก่ออิฐ งานช่างไม้ หรืองานก่อสร้างอื่น
- งานแกะสลักไม้
- งานขับขี่ยานยนต์ หรืองานขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องกล ยกเว้นงานขับขี่เครื่องบินระหว่างประเทศ
- งานขายของหน้าร้าน
- งานขายทอดตลาด
- งานควบคุม ตรวจสอบหรือให้บริการทางบัญชี ยกเว้นงานตรวจสอบภายในเป็นครั้งคราว
- งานเจียระไน หรือขัดเพชรหรือพลอย
- งานตัดผม งานดัดผม หรืองานเสริมสวย
- งานทอผ้าด้วยมือ
- งานทอเสื่อ หรืองานทำเครื่องใช้ด้วยกก หวาย ปอ ฟาง หรือเยื่อไม้ไผ่
- งานทำกระดาษสาด้วยมือ
- งานทำเครื่องเงิน
- งานทำเครื่องดนตรีไทย
- งานทำเครื่องถม
- งานทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก
- งานทำเครื่องลงหิน
- งานทำตุ๊กตาไทย
- งานทำที่นอนหรือผ้าห่มนวม
- งานทำบาตร
- งานทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ
- งานทำพระพุทธรูป
- งานทำมีด
- งานทำร่มด้วยกระดาษหรือผ้า
- งานทำรองเท้า
- งานทำหมวก
- งานนายหน้า หรืองานตัวแทน ยกเว้นงานนายหน้าหรืองานตัวแทนในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
- งานในวิชาชีพวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธา ที่เกี่ยวกับงานออกแบบและคำนวณ จัดระบบ วิจัย วางโครงการ ทดสอบ ควบคุมการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ ทั้งนี้ไม่รวมที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษ
- งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับงานออกแบบ เขียนแบบ ประมาณราคา อำนวยการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ
- งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย
- งานปั้นหรือทำเครื่องปั้นดินเผา
- งานมวนบุหรี่ด้วยมือ
- งานมัคคุเทศก์ หรืองานจัดนำเที่ยว
- งานเร่ขายสินค้า
- งานเรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมือ
- งานสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ
- งานเสมียนพนักงานหรืองานเลขานุการ
- งานให้บริการทางกฎหมายหรืออรรถคด
3. ระเบียบกรมการจัดหางานว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2552 ในข้อ 4 และข้อ 5 ดังนี้
ข้อ 4 ให้พิจารณาได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยคำนึงถึง
- ความมั่นคงภายในราชอาณาจักรด้านการเมือง ศาสนา เศรษฐกิจและสังคม
- โอกาสในการประกอบอาชีพของคนไทย และความต้องการแรงงานต่างด้าวที่จำเป็นต่อ การพัฒนาประเทศ
- ประโยชน์จากการอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในตำแหน่งงานนั้น เช่น การนำเงินตรำต่างประเทศเข้ามาลงทุนหรือใช้จ่ายในประเทศเป็นจำนวน การจ้างงานคนไทยจำนวนมาก หรือ การพัฒนาทักษะฝีมือคนไทยซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงาน
ข้อ 5 การกำหนดจำนวนการออกใบอนุญาตทำงานเป็นไปตามระเบียบกรมการจัดหางานว่าด้วยหลักเกณฑ์ฯ พ.ศ. 2552
- นายจ้างที่มีขนาดการลงทุนจากทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท หรือจดทะเบียนนิติบุคคลในต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท ออกใบอนุญาตทำงานให้ 1 คน และให้เพิ่มขึ้นหนึ่งคนต่อขนาดการลงทุนทุก 2 หรือ 3 ล้านบาท แต่ทั้งนี้ไม่เกิน 10 คน
- การออกใบอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงาน โดยใช้เทคโนโลยีซึ่งคนไทยทำไม่ได้หรือใช้ความรู้ ความชำนาญเฉพาะทางเพื่อให้งานสำเร็จภายใต้โครงการที่มีระยะเวลาแน่นอน หรือนายจ้างที่ชำระภาษีเงินได้ให้แก่รัฐในรอบปีที่ผ่านมาไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท หรือมีการจ้างงานคนไทยไม่น้อยกว่า 100 คน จำนวนของการออกใบอนุญาตทำงานเป็นไปตามความจำเป็นและเหมาะสม
- อื่น ๆ ตามที่ระเบียบกรมการจัดหางานว่าด้วยหลักเกณฑ์ฯ พ.ศ. 2552 กำหนดไว้
4. กฎระเบียบของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
4.1 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ ดังนี้
- จำนวนของการจ้างงานคนไทย คือ ลูกจ้างคนไทย 4 คน : คนต่างด้าว 1 คน
- อัตราค่าจ้าง/เงินเดือน ตามสัญชาติของคนต่างด้าว
4.2 ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในกรณีที่เป็นการประกอบอาชีพที่กฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
4.3 ใบอนุญาตประกอบกิจการที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายอื่น หรือต้องมีหนังสืออนุญาตให้ดำเนินกิจการจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบอนุญาตจัดหางาน ใบอนุญาตโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน เป็นต้น
ถาม หากต้องการรับครูเข้าทำงานในโรงเรียนต้องมีระเบียบการและขั้นตอนอย่างไรบ้าง
ตอบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. กรณีครูโรงเรียนรัฐบาล คนต่างด้าวต้องไปติดต่อขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจากคุรุสภา และโรงเรียนต้องดำเนินการขอหนังสือรับรองเพื่อให้การสนับสนุนในการออกใบอนุญาตทำงานจากสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน/ สำนักงานเขตการศึกษา/ สำนักงานเขต แล้วแต่กรณีว่าโรงเรียนอยู่ภายใต้สังกัดหน่วยงานใด และหนังสือขอความอนุเคราะห์ในการออกใบอนุญาตทำงานจากโรงเรียนที่รับคนต่างด้าวเข้าทำงาน พร้อมแสดงเอกสารหลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามแบบคำขอ ตท.1 แล้วจะได้รับใบอนุญาตทำงานภายใน 3 วันทำการ
2. กรณีครูโรงเรียนเอกชน คนต่างด้าวต้องไปติดต่อขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจากคุรุสภา ยกเว้นกรณีเป็น ผู้สอน ในโรงเรียนเอกชนนอกระบบ พร้อมแสดงเอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามแบบคำขอ ตท.1 แล้วจะได้รับใบอนุญาตทำงานภายใน 5 วันทำการ
ถาม การยื่นแบบคำขอรับใบอนุญาตทำงาน คนต่างด้าวต้องมาติดต่อ/ดำเนินการด้วยตนเองหรือไม่
ตอบ ไม่จำเป็น คนต่างด้าวสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นหรือกระทำการแทนได้ โดยต้องมอบอำนาจให้ คนไทยเท่านั้นจะเป็นคนต่างด้าวไม่ได้ เว้นแต่การรับใบอนุญาตทำงานเล่มใหม่ คนต่างด้าวต้องมาแสดงตนในวันรับเล่มใบอนุญาตทำงานด้วยตนเอง เนื่องจากต้องลงลายมือชื่อในใบอนุญาตต่อหน้าเจ้าหน้าที่
ถาม ระยะเวลาของการอนุญาตในใบอนุญาตทำงานจะมีอายุเท่าใด
ตอบ ระยะเวลาการอนุญาตทำงานพิจารณาตามความเหมาะสมอนุญาต 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี สูงสุดไม่เกิน 2 ปี โดยกำหนดไม่ตรงกับระยะเวลาของการอยู่ในราชอาณาจักร/วีซ่า
ถาม การต่ออายุใบอนุญาตทำงานทำอย่างไร และหากใบอนุญาตทำงานหมดอายุแล้วต่ออายุได้หรือไม่
ตอบ คนต่างด้าว/ผู้รับมอบอำนาจต้องยื่นคำขอต่ออายุการอยู่ในราชอาณาจักรไทยจากสำนักงานตรวจ คนเข้าเมืองก่อนการสิ้นอายุใบอนุญาตทำงาน โดยให้ยื่นตามแบบคำขอ ตท.5 และหากใบอนุญาตทำงานหมดอายุไปแล้วหรือมายื่นล่าช้ากว่ากำหนด ใบอนุญาตทำงานนั้นไม่สามารถทำการต่ออายุได้ คนต่างด้าวต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานฉบับใหม่ตามแบบคำขอ ตท.1 โดยขณะที่ยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานฉบับใหม่ วีซ่าดวงล่าสุดยังต้องเป็นประเภท Non-Immigrant-B และต้องยังไม่หมดอายุการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
ถาม ใบอนุญาตทำงานใกล้หมดอายุแล้ว แต่เอกสารยังไม่สามารถเตรียมพร้อมได้ทันกำหนดเวลาการต่ออายุ หรือคนต่างด้าวทางไปต่างประเทศยังไม่อยู่ในประเทศไทยต้องทำอย่างไร
ตอบ ให้คนต่างด้าว/ผู้รับมอบอำนาจดำเนินการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามแบบคำขอ ตท.5 พร้อมเอกสารเกี่ยวข้องไว้ก่อนได้ โดยเจ้าหน้าที่จะรับเรื่องและออกใบรับคำขอให้ไว้เป็นหลักฐาน และจะกำหนดให้นำเอกสารมายื่นใหม่ได้ภายในวันที่กำหนด ส่วนกรณีคนต่างด้าวยังอยู่ต่างประเทศ/ไม่อยู่ในราชอาณาจักร ให้ผู้รับมอบอำนาจจากคนต่างด้าว/นายจ้างดำเนินการยื่นเอกสารเช่นเดียวกัน และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ
เจ้าหน้าที่จะรับเรื่องและออกใบรับคำขอที่มีการประทับตรากรณีคนต่างด้าวเดินทางไปต่างประเทศให้เก็บไว้เป็นหลักฐาน หลังจากนั้นคนต่างด้าวต้องเดินทางเข้ามาติดต่อขอต่ออายุใบอนุญาตพร้อมหนังสือเดินทางและเอกสารที่ต้องการเพิ่มเติมภายใน 3 วันนับจากวันที่คนต่างด้าวเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักร แต่ต้องไม่เกินระยะเวลา 30 วันนับจากวันที่ยื่นแบบคำขอต่ออายุ โดยคนต่างด้าวสามารถ มอบอำนาจในการดำเนินการให้บุคคลอื่นกระทำการแทนได้
ถาม หากใบอนุญาตทำงานชำรุด หรือสูญหายต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ คนต่างด้าวต้องยื่นเอกสารขอใบแทนใบอนุญาตทำงาน ตามแบบ ตท.4 ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบการชำรุดหรือสูญหาย และต้องดำเนินการยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตทำงานหมดอายุ เนื่องจากใบอนุญาตทำงานที่หมดอายุไปแล้วไม่สามารถต่ออายุได้ โดยคนต่างด้าวสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นแทนได้ หลังจากยื่นเอกสารครบถ้วนแล้วจะได้รับใบแทนใบอนุญาตทำงานภายใน 7 วันทำการ และในวันที่รับใบอนุญาตทำงานใหม่คนต่างด้าวต้องมาติดต่อขอรับด้วยตนเอง
ถาม การขอเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมใด ๆ ที่นอกเหนือจากการอนุญาตต้องทำอย่างไร
ตอบ กรณีเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม สถานที่ทำงาน ท้องที่การทำงาน ตำแหน่งงาน ลักษณะงานโดยยังคงทำงานในสถานประกอบการเดิม ให้ยื่นเอกสารตามแบบคำขอ ตท.6 หลังจากยื่นเอกสารครบถ้วนแล้วทราบผลภายใน 3 - 7 วันทำการ ส่วนการเปลี่ยนแปลงในกรณีชื่อ , ที่อยู่, สัญชาติของคนต่างด้าว หรือชื่อ, เปลี่ยนรายละเอียดที่ตั้งตามประกาศของทางราชการของสถานประกอบการ รวมทั้งกรณีการเพิ่มประเภทธุรกิจ โดยธุรกิจเดิมก็ยังคงดำเนินการอยู่ ให้ยื่นเอกสารตามแบบคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาตทำงาน หลังจากยื่นเอกสารครบถ้วนแล้วทราบผลภายใน 3 วันทำการ
ถาม คนต่างด้าวสามารถเพิ่มนายจ้าง/สถานประกอบการได้หรือไม่
ตอบ ได้ โดยให้ยื่นเอกสารตามแบบคำขอ ตท.6 แต่มีข้อกำหนด/เงื่อนไขว่าคนต่างด้าวที่ทำงานในบริษัทที่ใช้สิทธิการขออนุญาตทำงานภายใต้การส่งเสริมการลงทุน การนิคมอุตสาหกรรม หรือการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ส่วนบริษัทที่ขอเพิ่มการทำงานก็ต้องได้รับสิทธิการขอรับอนุญาตทำงานของ คนต่างด้าวภายใต้กฎหมายดังกล่าวเช่นกัน หากมิใช่ไม่สามารถเพิ่มได้ และคนต่างด้าวที่ทำงานในบริษัททั่ว ๆ ไป บริษัทที่ขอเพิ่มการทำงานก็ต้องเป็นบริษัททั่วไปเช่นเดียวกัน ซึ่งจะเป็นบริษัทที่ขอรับสิทธิการอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวภายใต้กฎหมายดังข้างต้นไม่ได้
ถาม ค่าใช้จ่าย/ค่าธรรมเนียมในการทำใบอนุญาตทำงานมีอะไรบ้าง
ตอบ
- ค่ายื่นแบบ 100 บาท
- ค่าอายุใบอนุญาตทำงานระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน 750 บาท ระยะเวลา 3 6 เดือน 1,500 บาท และระยะเวลา 6 เดือน 1 ปี 3,000 บาท
- ค่าใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 500 บาท
- ค่าการอนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มลักษณะงาน ครั้งละ 1,000 บาท
- ค่าการอนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มนายจ้าง ครั้งละ 3,000 บาท
- ค่าการอนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มท้องที่หรือสถานที่ทำงาน ครั้งละ 1,000 บาท
- การยื่นคำร้องขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในอนุญาตทำงานไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
ถาม กระบวนการในการพิจารณาหลังจากรับเรื่องไว้แล้ว ใช้เวลาเท่าใด
ตอบ
- การยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานใหม่ ตามแบบ ตท.1 ตท.3 ใช้เวลา 3 - 7 วันทำการ
- การยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ตามแบบ ตท.5 ใช้เวลา 3 7 วันทำการ
- การยื่นคำขอเปลี่ยน/เพิ่ม การทำงาน ท้องที่ สถานที่ ตามแบบ ตท.6 ใช้เวลา 3 - 7 วันทำการ
- การยื่นคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาตทำงาน ใช้เวลา 3 วันทำการ
- การยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงาน ตามแบบ ตท.4 ใช้เวลา 7 วันทำการ
- การแจ้งงานอันจำเป็นและเร่งด่วน ตท.10 ใช้เวลา 1 วันทำการ
ถาม หากต้องการเปลี่ยนนายจ้างจะต้องทำอย่างไรบ้าง
ตอบ คนต่างด้าวสามารถดำเนินการได้ 2 วิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 คนต่างด้าวต้องไปติดต่อขอยกเลิกวีซ่าสถานประกอบการเดิมที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งมิใช่การได้รับอนุญาตภายใต้คู่สมรส/อุปการะครอบครัวคนไทย (กรณีเช่นนี้มิต้องกระทำการยกเลิกวีซ่า) และขอระยะเวลาการอยู่ในราชอาณาจักรอีก 7 วัน โดยต้องมิได้ถูกเสียค่าปรับการอยู่เกินกำหนดจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แล้วให้เร่งรีบดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานใหม่ตามแบบ ตท.1 พร้อมยกเลิกใบอนุญาตทำงานเดิมก่อนการหมดอายุของวีซ่านั้น จากนั้นให้นำใบรับคำขอจากเจ้าหน้าที่ไปติดต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อขอขยายระยะเวลาวีซ่า และให้นำวีซ่าที่มีการขยายระยะเวลาอนุญาตให้อยู่ต่อในราชอาณาจักรนั้นไปเพิ่มเติมให้กับเจ้าหน้าที่ที่รับแบบคำขอ ตท.1 เพื่อเจ้าหน้าที่จะสามารถพิจารณาการขอรับใบอนุญาตทำงานใหม่ได้ตามกำหนดนัดในใบรับคำขอ มิฉะนั้นวีซ่าจะหมดอายุก่อนการรับใบอนุญาตทำงานใหม่ /หรือ
วิธีที่ 2 ให้คนต่างด้าวเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เพื่อติดต่อขอวีซ่า Non-Immigrant-B ของสถานประกอบการใหม่จากสถานทูตไทย เมื่อเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานใหม่ตามแบบ คำขอ ตท.1 พร้อมการยกเลิกใบอนุญาตทำงานเดิมได้เข่นกัน
ถาม คนต่างด้าวมีวีซ่าประเภทอื่นๆ Non-Immigrant-O (Other) ใช้ขอใบอนุญาตทำงานได้หรือไม่
ตอบ วีซ่าประเภท Non-Immigrant-O ที่นำมาใช้ยื่นขอใบอนุญาตทำงานได้ ดังนี้
- เป็นครอบครัวของผู้มีสัญชาติไทย (เฉพาะบิดา มารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของ คู่สมรส) โดยต้องแสดงหลักฐานประกอบที่เกี่ยวข้อง เข่น ทะเบียนสมรส บัตรประชาชน สูติบัตร เอกสารการรับรองบุตร เป็นต้น
- การปฏิบัติหน้าที่/ภารกิจในครอบครัวของคนต่างด้าว ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 34 แห่ง พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เฉพาะเพื่อการตามที่ระบุใน *หมายเหตุ* โดยเป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว ไม่สามารถขอรับใบอนุญาตทำงานได้ เว้นแต่การทำงานเป็นอาสาสมัครไม่มีค่าตอบแทนในองค์กรที่เป็น สาธารณกุศล
ถาม หากนายจ้างรับคนต่างด้าวเข้าทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานจะมีความผิดอย่างไร
ตอบ นายจ้างรับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 10 , 000 100, 000 บาทต่อ คนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน ส่วนคนต่างด้าวที่ทำงานโดยไม่ได้รับในอนุญาตทำงาน ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2, 000 100, 000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
|