http://www.workpermitthai.com

visa and work permit for expatriates in thailand

ให้บริการขอทำใบอนุญาตทำงาน วีซ่าธุรกิจ แต่งงาน ครอบครัว 1 ปี สำหรับคนต่างชาติในประเทศไทย

หน้าแรก: รับทำวีซ่าและใบอนุญาตทำงานในประเทศไทยสำหรับคนต่างชาติ
บริการ: บริการงานคนต่างด้าวเพื่ออยู่ในประเทศไทยอย่างถูกต้อง
ราคาและใบเสนอราคา: สำหรับการทำวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน
ใบอนุญาตทำงานไทย: กฎระเบียบ หลักเกณฑ์และเอกสารที่จำเป็น
วีซ่าเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรไทย: ใบอนุญาตทำงานไทย: กฎระเบียบ หลักเกณฑ์และเอกสารที่จำเป็น
วีซ่าคนอยู่ชั่วคราวและการขอตรวจลงตรา: การขอวีซ่าเพื่อเข้ามาในประเทศไทย
การขอตรวจลงตราและเปลี่ยนแปลงประเภทการตรวจลงตรา:ใบอนุญาตทำงานไทย: กฎระเบียบ หลักเกณฑ์และเอกสารที่จำเป็น
ติดต่อ: ขอรายละเอียดเพิ่มเติมและราคา

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กรมการจัดหางาน
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
สถานกงสุล กระทรวงต่างประเทศ

เอกสารประกอบการ ยื่นคำร้อง ขออยู่ต่อในกรณี

1. เพื่อการธุรกิจปีแรกและปีถัดไป
2. อุปการะภรรยาไทย หรือสามีเป็นคนไทย
3. เป็นครูผู้สอนในสถานศึกษาของรัฐบาล หรือเอกชน หรือโรงเรียนนานาชาติ
4. เป็นครูผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาล หรือเอกชน
5. ศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือดูงาน หรือฝึกงาน
6. ศึกษาในสถานศึกษา
7. เพื่อดูแลบุตรศึกษาในสถานศึกษา
8. มาปฏิบัติหน้าที่ให้แก่หน่วยงานของรัฐ
9. เพื่อปฎิบัติงานให้กับบริษัทซึ่งเป็นคู่สัญญากับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
10. เพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้แก่มูลนิธิ และองค์การกุศลสาธารณะ
11. เผยแพร่ศาสนาที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวง ทบวง กรมที่เกี่ยวข้อง
12. เพื่อค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์หรือฝึกสอน ในสถาบันค้นคว้าหรือสถานบันการศึกษาในราชอาณาจักร
13. ปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน
14. เจ้าหน้าที่ของสาขาธนาคารต่างประเทศ สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศ และ สำนักงานผู้แทนของธนาคารต่างประเทศ
15. เพื่อปฏิบัติงานช่างฝีมือหรือผู้เชี่ยวชาญ
16. เพื่อปฏิบัติงานในสำนักงานนิติบุคคลต่างประเทศ(ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ หรือ สำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติ)
17. เพื่อปฏิบัติงานในสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค
18. ผู้ลงทุนไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท
19. เพื่อใช้ชีวิตบั้นปลาย
20. รับอุปการะจากสามีสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ฯ (ภรรยาคนต่างด้าว)
21. เพื่อให้อุปการะแก่บุตรคนสัญชาติไทย (บิดา/มารดาคนต่างด้าว)
22. เพื่อรับอุปการะจากบุตร (บิดา/มารดาคนต่างด้าว)
23. เพื่อขอรับการอุปการะจากบิดา มารดา (บุตรคนต่างด้าว)
24. ประเภทนักท่องเที่ยว
25. เนื่องจากเหตุจำเป็นอื่นๆ (ไม่จำกัดประเภทตรวจลงตรา)

หลักเกณฑ์การขออยู่ในราชอาณาจักรไทย

การยื่นคำร้องขออยู่ต่อ (รายการเอกสารประกอบการยื่นคำร้อง)

ยื่นขอรับหรือการขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา

การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร

 


  การยื่นคำร้องขออยู่ของคนต่างด้าวที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทต่าง ๆ  
 

 

  1. กรณีทั่วไป
    1. แบบคำร้อง (ตม. 7)
    2. หนังสือเดินทาง
    3. สำเนาหนังสือเดินทาง
      • หน้าที่มีชื่อ - ชื่อสกุล - รูปถ่าย
      • หน้าที่มีวันที่ออกหนังสือเดินทาง และวันหมดอายุ
      • หน้าที่มีตรา VISA และตราประทับขาเข้า
      • บัตร ตม. 6
    4. รูปถ่าย 4 x 6 ซม (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
    5. ค่าธรรมเนียมขออยู่ต่อ 1,900.- บาท
  2. กรณีมีเหตุจำเป็นในขออยู่ต่อ
    ต้องประมวลเรื่องเสนอผู้มีอำนาจเพื่อพิจารณาสั่งการ เจ้าหน้าที่ประทับตรานัดฟังผล ในหนังสือเดินทางของคนต่างด้าว 14 วัน
    1. เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง เช่นเดียวกับกรณีทั่วไปในข้อ 1.1 – 1.5
    2. เพิ่มเติมเอกสารหลักฐานประกอบผลความจำเป็นตามแต่กรณี
  3. กรณีคนต่างด้าวอยู่เกินกำหนด
    1. บุคคลต่างด้าว ต้องนำหนังสือเดินทางมาแสดงด้วยตนเองต่อเจ้าหน้าที่ ห้อง 205 ชั้น 2 อาคาร 1 เพื่อชำระค่าเปรียบเทียบปรับ กรณีอยู่เกินกำหนดอนุญาต ในอัตราวันละ 500.- บาท
นำหลักฐานใบเสร็จรับเงินค่าเปรียบเทียบปรับ พร้อมเอกสารหลักฐาน ตามข้อ 1 หรือ ข้อ 2 แล้วแต่กรณี ไปยื่นคำร้องที่ช่องรับคำร้อง หมายเลข 5 ( บริเวณห้องโถงชั้นล่าง อาคาร 1) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามขั้นตอนเช่นเดียวกัน

 
  การยื่นคำร้องขออยู่เพื่อการธุรกิจปีแรกและปีถัดไป  
 

 

  1. แบบคำขอ ตม. 7 รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม จำนวน 1 รูป และ ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. หนังสือรับรองคนต่างด้าวเข้าทำงานตามแบบของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (แบบ สตม. 1)
  4. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
  5. สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนขององค์กรนั้น เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน
  6. สำเนาบัญชี รายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งหมด ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน
  7. สำเนางบดุล และงบกำไรขาดทุน 2 ปีล่าสุด (ต้องผ่านการรับรองความถูกต้องจากสรรพากร หรือกระทรวงพาณิชย์ หรือจากผู้ตรวจสอบบัญชี หรือใช้เอกสารตัวจริงเท่านั้น)
  8. สำเนาแบบรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.50) ปีล่าสุด พร้อมใบเสร็จ (ต้องผ่านการรับรองความถูกต้องจากสรรพากร เท่านั้น)
  9. แบบนำส่งงบการเงินฯ (สบช.3) ปีล่าสุด (ต้องผ่านการรับรองความถูกต้องจากกระทรวงพาณิชย์ เท่านั้น)
  10. สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่มีชื่อพนักงานไทยและชื่อคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ3 เดือนล่าสุดพร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีไม่มีชื่อของคนต่างด้าวให้ทำหนังสือชี้แจง)
  11. สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาของคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ ปีล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน (ถ้ามี)
  12. สำเนาแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบตามที่ได้ยื่นไว้ต่อสำนักงานประกันสังคม ( สปส. 1-10) 3 เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน
  13. สำเนาแบบรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ. 30) 3 เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน
  14. เอกสารหรือหลักฐานแสดงว่า ธุรกิจมีความจำเป็นจะต้องว่าจ้างคนต่างด้าวทำงาน เช่น ประกาศรับสมัครคนไทยเข้าทำงาน แล้วไม่มีผู้สมัคร เป็นต้น
  15. แผนที่แสดงสถานที่ทำงานของผู้ยื่นคำขอ
  16. เอกสารหรือหลักฐานอื่น ตามที่คณะกรรมการติดตามการปฎิบัติราชการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของ สตม. กำหนด
  17. รูปถ่านสถานประกอบการ
    - ภายนอก ให้ปรากฏเลขที่ตั้งและป้ายชื่อสถานประกอบการ
    - ภายใน ให้ปรากฏภาพพนักงานขณะปฏิบัติงานอยู่
  18. ให้นำหลักฐานเอกสารตัวจริงตามข้อ 5, 6, 7, 8, 9 และ 10 มาแสดงด้วย
  19. กรณีมีครอบครัวติดตามมาอยู่ด้วย ให้แสดงหลักฐานครอบครัว ได้แก่ ทะเบียนสมรส ใบเกิดบุตร หากออกโดยรัฐบาลในต่างประเทศ ให้ผ่านการรับรองจากสถานทูตของประเทศนั้นๆ
 
  การยื่นคำร้องขออยู่ต่อกรณีอุปการะภรรยาไทย หรือสามีเป็นคนไทย  
 

 

  1. แบบฟอร์ม ตม. 7
    - รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม จำนวน 1 รูป
    - ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
  3. หลักฐานประกอบการขออยู่ต่อ
    • กรณีอุปการะภรรยาไทย
      1. ทะเบียนสมรส
      2. สูติบัตรบุตร (ถ้ามี)
      3. สำเนาทะเบียนบ้าน (ของภรรยา)
      4. บัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการ(ของภรรยา)
      5. หลักฐานแสดงรายได้ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายรวมกัน ไม่น้อยกว่า 400,000.- บาท
    • กรณีทำงาน
      1. สำเนาใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (ตท. 2)
      2. หนังสือรับรองเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 40,000.- บาท
        ( ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ ตำแหน่งและเงินเดือน)
        สามีหรือภรรยาทำงานมีรายได้รวมกันขั้นต่ำ เดือนละ 40,000.- บาท
      3. บันทึกถ้อยคำของสามีและภรรยา เพื่อยืนยันสถานะภาพความเป็นสามีภรรยา
      4. แผนที่บ้าน รูปถ่ายบ้านพักและครอบครัว
      5. อื่นๆ เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
    • กรณีรับอุปการะจากสามีคนไทย
      1. ทะเบียนสมรส
      2. สูติบัตรบุตร (ถ้ามี)
      3. สำเนาทะเบียนบ้าน (ของสามี)
      4. บัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการ(ของสามี)
      5. บันทึกถ้อยคำของสามีและภรรยา เพื่อยืนยันสถานะภาพความเป็นสามีภรรยา
      6. แผนที่บ้าน
 
  หลักเกณฑ์ การขออยู่ในราชอาณาจักรไทย (ขอวีซ่า) ประเภทบริษัททั่วไป (แบบย่อ รายละเอียดแบบเต็มดูด้านล่าง)  
 


บิดา มารดาเป็นคนสัญชาติไทย

  1. ตม. 7
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง
  3. รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
  4. ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
  5. หลักฐานแสดงการเป็น บิดา มารดา บุตร หรือสูติบัตร ทะเบียนสมรส ของบิดามารดา
  6. บันทึกปากคำผู้ยื่นคำร้อง และบุตร
  7. เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น

บิดา มารดาเป็นคนมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร

  1. ตม. 7
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง
  3. รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
  4. ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
  5. หลักฐานแสดงการเป็น บิดา มารดา บุตร หรือสูติบัตร ทะเบียนสมรส ของบิดามารดา
  6. หลักฐานแสดงการมีถิ่นที่อยู่ของบิดา มารดา (สำเนาหนังสือเดินทาง , ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ , ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว)
  7. บันทึกปากคำของผู้ยื่นคำร้อง และบุตร
  8. หลักฐานแสดงฐานะทางการเงิน อาชีพ และรายได้บิดามารดาพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
  9. บุตรต้องยังไม่บรรลุนิติภาวะ (ไม่เกิน 20 ปี บริบูรณ์) หรือ อยู่ระหว่างการศึกษา โดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับ หลักสูตรระดับ จำนวนปีการศึกษา และยังอยู่ในอุปการะของบิดามารดา หรือพิการจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
  10. เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น

    * บุตร สามารถเข้ามาและยื่นคำร้องขออยู่ต่อฯ เพื่ออุปการะบิดา-มารดาที่เป็นคนมีถิ่นที่อยู่ฯ ได้เพียงคนเดียว
 
  เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อในกรณีเป็นครูผู้สอนในสถานศึกษาของรัฐบาล หรือเอกชน หรือโรงเรียนนานาชาติ  
 

 

  1. แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
  3. กรณีเพื่อทำหน้าที่เป็นครูผู้สอน

ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
หลักฐานเอกสารประกอบ

    1. หนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐระดับกรมหรือเทียบเท่าที่รับผิดชอบสถานศึกษานั้นๆ ทั้งนี้ให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาที่สอน ตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
    2. หนังสือรับรองจากสถานศึกษานั้น ๆ
    3. ใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (ตท. 2)
    4. สัญญาว่าจ้าง
    5. หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( ภ.ง.ด. 91) ของคนต่างด้าวในรอบปีที่ผ่านมา

ในสถานศึกษาของเอกชนหรือโรงเรียนนานาชาติ
หลักฐานเอกสารประกอบ

    1. ในส่วนกลาง - หนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐระดับกรมหรือเทียบเท่าที่รับผิดชอบสถานศึกษานั้นๆ ทั้งนี้ให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาที่สอน ตำแหน่งและอัตราเงินเดือน หรือ
      ในส่วนภูมิภาค
      - หนังสือรับรองจากผู้ว่าราชการจังหวัดที่สถานศึกษานั้น ๆ ตั้งอยู่โดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลา ที่สอน ตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
    2. หนังสือรับรองจากสถานศึกษานั้น ๆ
    3. ใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (ตท. 2)
    4. คุณวุฒิการศึกษา
    5. ใบอนุญาตให้เป็นครู ( สช . 11)
    6. ใบอนุญาตให้บรรจุครู ( สช . 18 หรือ 19)
    7. สัญญาว่าจ้าง
    8. ใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ( สช . 2)
    9. ใบอนุญาตให้เป็นครูใหญ่ ( สช . 8) ใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ ( สช . 5)
    10. หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( ภ.ง.ด. 91) ของคนต่างด้าวในรอบปีที่ผ่านมา
 
  เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อในกรณีเป็นครูผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาล หรือเอกชน  
 

 

  1. แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
  3. กรณีเพื่อทำหน้าที่เป็นครูผู้สอน

    ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
    หลักฐานเอกสารประกอบ
    1. หนังสือรับรองจากอธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาโดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาที่สอน ตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
    2. ใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (ตท. 2)
    3. สัญญาว่าจ้าง
    4. หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( ภ . ง . ด . 91) ในรอบปีที่ผ่านมา

ในสถาบันอุดมศึกษาของเอกชน
หลักฐานเอกสารประกอบ

    1. หนังสือรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.)
    2. หนังสือรับรองจากอธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาโดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาที่สอน ตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
    3. ใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว ( ตท . 2)
    4. สัญญาว่าจ้าง
    5. คุณวุฒิการศึกษา
    6. ใบอนุญาตจัดตั้งสถานศึกษาและอนุมัติแต่งตั้งให้เป็นอธิการบดี
    7. หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( ภ . ง . ด . 91) ในรอบปีที่ผ่านมา
 
  เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อกรณีศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือดูงาน หรือฝึกงาน  
 

 

  1. แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
  3. กรณีขออยู่ต่อเพื่อศึกษาใน

    สถานอุดมศึกษาของรัฐบาล

    หลักฐานเอกสารประกอบ
    1. หนังสือรับรองจากคณบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาลที่รับผิดชอบสถานศึกษานั้นๆ ( ทั้งนี้ให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนปีการศึกษา ระดับการศึกษา หลักสูตรหรือทุน และผลการศึกษาของผู้ร้องด้วย )

สถานอุดมศึกษาของเอกชน
หลักฐานเอกสารประกอบ

  1. หนังสือรับรองจากอธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นๆ ( ทั้งนี้ให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนปีการศึกษาระดับการศึกษา หลักสูตรหรือทุน และผลการศึกษาของผู้ร้องด้วย )
  2. หนังสือรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาเอกชน (สกอ.) ( One Stop)
  3. สำเนาใบลงทะเบียนเรียน และสำเนาใบเสร็จรับเงิน
  4. ใบแสดงผลการศึกษา ( Transcript) ในกรณีปีที่ 2 ขึ้นไป
  5. ใบอนุมัติให้แต่งตั้งเป็นอธิการบดี
  6. ใบอนุญาตจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา

กรณีดูงาน
หลักฐานเอกสารประกอบ

    1. หนังสือรับรองจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรมหรือเทียบเท่า หรือหัวหน้ารัฐวิสาหกิจ หรือหนังสือ จากสถานทูต หรือสถานกงสุล

กรณีฝึกงาน
หลักฐานเอกสารประกอบ

    1. หนังสือรับรองจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรมหรือเทียบเท่า หรือหัวหน้ารัฐวิสาหกิจ หรือหนังสือจากสถานทูต หรือสถานกงสุล
    2. หนังสือรับรองจากหน่วยงานที่เข้ารับการฝึกงาน
 
  เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อกรณีศึกษาในสถานศึกษา  
 

 

  1. แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
  3. กรณีขออยู่ต่อเพื่อศึกษาใน

    สถานศึกษาของรัฐบาล

    หลักฐานเอกสารประกอบ
    1. หนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐระดับกรมหรือเทียบเท่าที่รับผิดชอบสถานศึกษานั้นๆ
      ทั้งนี้ให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนปีการศึกษา ระดับการศึกษา หลักสูตรหรือทุน
      และผลการศึกษาของผู้ร้องด้วย
    2. หนังสือรับรองจากผู้อำนวยการโรงเรียนของสถานศึกษานั้น ๆ

สถานศึกษาของเอกชน

    1. ในส่วนกลาง ( กทม .)
      หลักฐานเอกสารประกอบ
      1. หนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐระดับกรมหรือเทียบเท่าที่รับผิดชอบสถานศึกษานั้นๆ ทั้งนี้ให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนปีการศึกษา ระดับการศึกษา หลักสูตรหรือทุน และผลการศึกษาของผู้ร้องด้วย
      2. หนังสือรับรองจากสถานศึกษา
      3. ใบอนุญาตให้เป็นครูใหญ่ ( สช . 8) หรือใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ ( สช . 5)
      4. ใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ( สช . 2)
    2. ในส่วนภูมิภาค
      หลักฐานเอกสารประกอบ
      1. หนังสือรับรองจากผู้ว่าราชการจังหวัดที่สถานศึกษานั้น ๆ ตั้งอยู่ ทั้งนี้ให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนปีการศึกษา ระดับการศึกษา หลักสูตรหรือทุน และผลการศึกษาของผู้ร้องด้วย
      2. หนังสือรับรองจากสถานศึกษา
      3. ใบอนุญาตให้เป็นครูใหญ่ ( สช . 8) หรือใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ ( สช . 5)
      4. ใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ( สช . 2)
    3. กรณีขออยู่ต่อเพื่อศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ
      หลักฐานเอกสารประกอบ
      1. หนังสือรับรองจากโรงเรียนนานาชาติ
        1. ถ้าพำนักอยู่กับบิดามารดาให้นำหลักฐานการเป็นบิดามารดากับบุตรมาแสดงพร้อมทั้งหลักฐานการได้รับอนุญาตของบิดามารดาด้วย หรือถ้ามิได้พำนักอาศัยอยู่กับบิดามารดาต้องระบุว่าอาศัยอยู่กับผู้ใด ที่ใด เกี่ยวข้องเป็นอะไรกัน ปัจจุบันบิดามารดาอยู่ที่ใดและเหตุที่เข้ามาศึกษา
        2. ใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน (สช. 2)
        3. ใบอนุญาตแต่งตั้งเป็นครูใหญ่ (สช. 8) หรือใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ (สช. 5)
 
  การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อดูแลบุตรศึกษาในสถานศึกษา  
 

 

  1. แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
  3. กรณีขออยู่ต่อเพื่ออยู่ติดตาม หรือเพื่อดูแลบุตรซึ่งกำลังศึกษาในสถานศึกษา
    หลักฐานเอกสารประกอบ
    กรณีที่เคยได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรมานานแล้วด้วยเหตุผลดูแลบุตรมาตลอด ( ก่อน 17 ม.ค. 2543)
    อนุญาตเฉพาะมารดา
    ต้องมี
    • หนังสือรับรองจากธนาคาร โดยมีเงินฝากในบัญชีไม่ต่ำกว่า 250,000 บาท ในวันยื่นคำร้อง
    • สำเนาบัญชีเงินฝากในธนาคารไม่ต่ำกว่า 250,000 บาท ในวันยื่นคำร้อง และวันนัดฟังผล

กรณีที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นครั้งแรก และขออยู่ต่อด้วยเหตุผลเพื่อดูแลบุตร ( หลัง 17 ม.ค. 2543)
อนุญาตเฉพาะ บิดา หรือมารดา ต้องมี

    • หนังสือรับรองจากธนาคาร โดยมีเงินฝากในบัญชีไม่ต่ำกว่า 800,000 บาท ในวันยื่นคำร้อง
    • สำเนาบัญชีเงินฝากในธนาคารไม่ต่ำกว่า 800,000 บาท ในวันยื่นคำร้อง และวันนัดฟังผล
    • หลักฐานการโอนเงินจากต่างประเทศ
4. หลักฐานการเป็นครอบครัว
( หากมีการแปลจะต้องรับรองโดยสถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศนั้น ๆ หรือโดยกระทรวงการต่างประเทศ )

 
  เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อกรณีมาปฏิบัติหน้าที่ให้แก่หน่วยงานของรัฐ  
 

 

  1. แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
  3. หนังสือรับรองจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรม หรือเทียบเท่า
  4. ใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน (ตท. 2)

    กรณีมีการว่าจ้าง ต้องมีเอกสารเพิ่มเติมดังนี้

    หลักฐานเอกสารประกอบ
    1. สัญญาว่าจ้าง
    2. กรณีมีรายได้ ต้องมี
      • รายการเสียภาษีเงินได้ของคนต่างด้าว (ภ.ง.ด. 1) เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีปีแรก) และ
      • หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีล่าสุด ( ภ . ง . ด . 91) พร้อมใบเสร็จรับเงิน (กรณีปีต่อไป)
 
  การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อปฎิบัติงานให้กับบริษัทซึ่งเป็นคู่สัญญากับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ  
 

 

  1. แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
  3. กรณีขออยู่ต่อเพื่อ

    ปฏิบัติงานให้กับบริษัทซึ่งเป็นคู่สัญญากับส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ

    หลักฐานเอกสารประกอบ
    1. หนังสือรับรองจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรม หรือเทียบเท่า หรือหัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ต้องระบุว่า
      • คนต่างด้าวเข้ามาปฏิบัติงานตามโครงการใด
      • เป็นระยะเวลาเท่าใด และ
      • บริษัทเอกชนซึ่งเป็นนายจ้างเป็นผู้รับสัมปทาน หรือผู้รับเหมาตามสัญญาใด
    2. สำเนาใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน ( ตท . 2 )
    3. หนังสือรับรองเงินเดือนจากบริษัทซึ่งคนต่างด้าวปฏิบัติงาน
    4. สัญญาจ้างระหว่างส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเอกชนซึ่งเป็นคู่สัญญา
    5. หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
    6. กรณีมีรายได้ ต้องมี
      • รายการเสียภาษีเงินได้ของคนต่างด้าว (ภ.ง.ด. 1) เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีปีแรก) และ
      • หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีล่าสุด ( ภ . ง . ด . 91) พร้อมใบเสร็จรับเงิน (กรณีปีต่อไป)

กรณีอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ต้องมี

    1. ใบทะเบียนการค้า ใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว/ หนังสือรับรองกรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์
      กรณีอยู่ติดตาม ต้องมี
    2. ทะเบียนสมรส/ สูติบัตร หรือหลักฐานการเป็นครอบครัว ( หากมีการแปลจะต้องรับรองจากสถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศนั้น ๆ หรือกระทรวงการต่างประเทศ) และหนังสือรับรองของผู้ที่ได้รับสิทธิ์

 
  เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้แก่มูลนิธิ และองค์การกุศลสาธารณะ  
 

 

  1. แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
  3. กรณีขออยู่ต่อเพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้แก่

องค์การกุศลสาธารณะ หรือองค์การเอกชนต่างประเทศ
หลักฐานเอกสารประกอบ

  1. หนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจ หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรม หรือเทียบเท่า
  2. หนังสือรับรองจากองค์การกุศลสาธารณะ หรือองค์การเอกชนต่างประเทศ
  3. สำเนาใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน ( ตท . 2)
  4. ใบอนุญาตให้เข้ามาดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศ ( ซึ่งยื่นต่อหน่วยงานของ
    รัฐวิสาหกิจ หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรม หรือเทียบเท่า)
  5. หนังสือชี้แจงการทำงานของคนต่างด้าวที่ปฏิบัติงานในองค์การกุศลสาธารณะ หรือองค์การ
    เอกชนต่างประเทศตามรูปแบบที่ สตม . กำหนด
  6. บัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่ปฏิบัติงาน
  7. กรณีมีรายได้ ต้องมี
    • รายการเสียภาษีเงินได้ของคนต่างด้าว (ภ.ง.ด. 1) เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีปีแรก) และ
    • หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีล่าสุด ( ภ . ง . ด . 91) พร้อมใบเสร็จรับเงิน (กรณีปีต่อไป)

สมาคมหรือมูลนิธิ
หลักฐานเอกสารประกอบ

  1. หนังสือรับรองจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรม หรือเทียบเท่า (กรณี ONE STOP )
  2. หนังสือรับรองจากสมาคม หรือมูลนิธิ
  3. สำเนาใบอนุญาตจัดตั้งสมาคม หรือมูลนิธิ
  4. สำเนาใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน ( ตท . 2)
  5. หนังสือชี้แจงการทำงานของคนต่างด้าวที่ปฏิบัติงานในองค์การกุศลสาธารณะตามรูปแบบที่ สตม . กำหนด
  6. บัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่ปฏิบัติงาน
  7. กรณีมีรายได้ ต้องมี
    • รายการเสียภาษีเงินได้ของคนต่างด้าว (ภ.ง.ด. 1) เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีปีแรก) และ
    • หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีล่าสุด ( ภ.ง.ด. 91) พร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีปีต่อไป)
 
  การยื่นคำร้องขออยู่ต่อกรณีเผยแพร่ศาสนาที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวง ทบวง กรมที่เกี่ยวข้อง  
 

 

  1. แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
  3. กรณีขออยู่ต่อเพื่อ

    เข้ามาเผยแพร่ศาสนา

    หลักฐานเอกสารประกอบ
    1. หนังสือรับรองจากรมการศาสนา หรือกระทรวงวัฒนธรรม
    2. สำเนาใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน ( ตท . 2)
    3. หนังสือรับรองจากคณะ หรือสำนักที่คนต่างด้าวเข้ามาประจำ
    4. บัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่ข้ามาเผยแพร่ศาสนาประจำคณะ หรือสำนัก แยกประเภทคนมีถิ่นที่อยู่และคนอยู่ชั่วคราว
    5. กรณีมีรายได้ ต้องแสดง
    • รายการเสียภาษีเงินได้ของคนต่างด้าว (ภ.ง.ด. 1) เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีปีแรก) และ
    • หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีล่าสุด ( ภ.ง. ด. 91) พร้อมใบเสร็จรับเงิน (กรณีปีต่อไป)

เพื่อศึกษาพุทธศาสนา หรือปฏิบัติศาสนกิจ
หลักฐานเอกสารประกอบ

    1. หนังสือรับรองจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือสำนักนายกรัฐมนตรี หรือมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
    2. หนังสือรับรองจากเจ้าอาวาสที่คนต่างด้าวเข้ามาศึกษา
 
  การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์หรือฝึกสอน ในสถาบันค้นคว้าหรือสถานบันการศึกษาในราชอาณาจักร  
 

 

  1. แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
  3. กรณีขออยู่ต่อเพื่อ

    ค้นคว้าทาง วิทยาศาสตร์ หรือฝึกสอนในสถาบันการค้นคว้า หรือสถาบันการศึกษาในราชอาณาจักร

    หลักฐานเอกสารประกอบ
    1. หนังสือรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรม หรือเทียบเท่า ( กรณีทำการวิจัย ค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ภาครัฐ ) หรือ หนังสือรับรองจากสถานทูต สถานกงสุล ( กรณีระยะสั้นไม่เกิน 90 วัน)
    2. สำเนาใบอนุญาตทำงาน หรือสำเนาใบรับคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (ตท. 2) จากกรมการจัดหางาน
    3. กรณีมีรายได้ ต้องแสดง
      • รายการเสียภาษีเงินได้ของคนต่างด้าว (ภ.ง.ด. 1) เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีปีแรก) และ
      • หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีล่าสุด (ภ.ง.ด. 91) พร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีปีต่อไป)
 
  การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน  
 

 

  1. แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
  3. ใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน (ตท. 2)
  4. หนังสือรับรองจากกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรม หรือเทียบเท่า
  5. บัตรประจำตัวผู้สื่อข่าว
  6. หนังสือรับรองการมีรายได้ หรือสัญญาว่าจ้าง
  7. กรณีมีรายได้ ต้องมี
    • รายการเสียภาษีเงินได้ของคนต่างด้าว (ภ.ง.ด. 1) เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีปีแรก) และ
    • หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีล่าสุด ( ภ . ง . ด . 91) พร้อมใบเสร็จรับเงิน (กรณีปีต่อไป)
 
  เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อในกรณีเป็นเจ้าหน้าที่ของสาขาธนาคารต่างประเทศ สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศ และ สำนักงานผู้แทนของธนาคารต่างประเทศ  
 

 

  1. แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
  3. หนังสือรับรองจากธนาคารแห่งประเทศไทย
  4. สำเนาใบอนุญาตทำงาน หรือสำเนาใบรับคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (ตท. 2) จากกรมการจัดหางาน
  5. แบบหนังสือรับรองการจ้างงาน
  6. หนังสือชี้แจงขออนุมัติให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรพร้อมรับรองเงินเดือน
  7. หลักฐานการชำระภาษีของคนต่างด้าวและพนักงานคนไทยเดือนล่าสุด (ภ.ง.ด. 1) พร้อมใบเสร็จรับเงิน
  8. รายชื่อคนต่างด้าวที่ปฏิบัติหน้าที่ในธนาคาร
  9. หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลหรือหนังสือมอบอำนาจซึ่งได้รับการรับรองจาก NOTARY PUBLIC
  10. ใบจดทะเบียนพาณิชย์
  11. ใบรับรองอนุญาตจัดตั้งสาขาธนาคารต่างประเทศ/ สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศ/ สำนักงานผู้แทนธนาคารต่างประเทศ
  12. ใบอนุญาตให้ประกอบธนาคารพาณิชย์
  13. ใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ. 20)
  14. แบบแสดงรายงานเสียภาษีเงินได้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ภ.ง.ด. 50 ปีล่าสุด)
  15. งบและบัญชีกำไรขาดทุนปีล่าสุด
  16. แผนภูมิ
  17. แผนที่ตั้งธนาคาร
  18. กรณีขออยู่ต่อปีต่อไป
    • ต้องแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีล่าสุด (ภ.ง.ด. 91) พร้อมใบเสร็จรับเงิน
  19. กรณีอยู่ติดตาม ต้องมี
    • ทะเบียนสมรส/ สูติบัตร หรือหลักฐานการเป็นครอบครัว ( หากมีการแปลจะต้องรับรองโดยสถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศนั้น ๆ หรือกระทรวงการต่างประเทศ) และหนังสือรับรองของผู้ที่ได้รับสิทธิ์
 
  การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อปฏิบัติงานช่างฝีมือหรือผู้เชี่ยวชาญ  
 


เพื่อปฏิบัติงานให้กับส่วนราชการ

  1. ตม. 7
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง
  3. รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
  4. ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
  5. หนังสือรับรองจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรมหรือเทียบเท่า
  6. หลักฐานแสดงความรู้ความสามารถ การผ่านงาน
  7. ใบอนุญาตทำงานหรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน
  8. หลักฐานการเสียภาษีเงินได้ (ภ.ง.ด. 1) การยื่นคำร้องในปีต่อไปให้แสดงหลักฐานการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 91) ในรอบปีผ่านมาแสดง
  9. กรณีมีผู้ติดตาม (สามี/ภรรยา , บุตร) ให้มีหนังสือรับรองของผู้ยื่นคำร้องประกอบพร้อมหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ด้วย โดยแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยสถานทูต หรือกงสุลของคนต่างด้าว
  10. เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น


เพื่อปฏิบัติงานให้กับส่วนเอกชน

  1. ตม. 7
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง
  3. รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
  4. ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
  5. หนังสือชี้แจงรายละเอียดจากบริษัท ห้าง ร้าน หลักฐานการจดทะเบียนนิติบุคคล
  6. ใบอนุญาตทำงานหรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน
  7. หลักฐานการนำเข้าเครื่องจักร
  8. เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
 
  การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อปฏิบัติงานในสำนักงานนิติบุคคลต่างประเทศ(ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ หรือ สำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติ)  
 

 

  1. ตม. 7
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง
  3. รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
  4. ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
  5. หนังสือรับรองและชี้แจงตำแหน่งของผู้ยื่นคำร้องรวมทั้งคนต่างด้าวอื่นๆที่ปฏิบัติงานว่า มีหน้าที่อะไรบ้าง มีเหตุผลใดต้องใช้คนต่างด้าวทำหน้าที่ นั้นๆ
  6. ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวหรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน
  7. หนังสือรับรองการจดทะเบียนจากกระทรวงพาณิชย์
  8. ใบขออนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
  9. หนังสือมอบอำนาจจากสำนักงานใหญ่
  10. หลักฐานการนำเงินเข้ามาในราชอาณาจักรตามเงื่อนไข (ธ.ต. 03 หรือ ธ.ต. 04)
  11. เอกสารสัญญาประกอบธุรกิจ (ถ้ามี)
  12. หลักฐานการชำระภาษีเงินได้ของพนักงานคนไทยและคนต่างด้าว(ภ.ง.ด. 1) เดือนล่าสุด กรณียื่นคำร้องขอยู่ต่อปีต่อไป ให้แสดงหลักฐานการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( ภ.ง.ด. 91) ของคนต่างด้าวใน รอบปีที่ผ่านมา
  13. กรณีมีผู้ติดตาม (สามี/ภรรยา , บุตร) ให้มีหนังสือรับรองของผู้ยื่นคำร้อง ประกอบพร้อมหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ ด้วยโดยแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยสถานทูต หรือกงสุลของคนต่างด้าว
  14. เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น

* ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ (สำนักงานผู้แทน) หมายถึง ธุรกิจที่บริการ
เกี่ยวกับการหาแหล่งจัดซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศไทยให้แก่สำนักงานใหญ่ การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพและปริมาณของสินค้าที่สำนักงานใหญ่ซื้อหรือจ้างผลิตในประเทศไทย การให้คำแนะนำในด้านต่างๆ เกี่ยวกับตัวสินค้าของสำนักงานใหญ่ที่จำหน่ายแก่ตัวแทนหรือผู้ใช้สินค้า การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการใหม่ของสำนักงานใหญ่และการรายงานความเคลื่อนไหวทางธุรกิจในประเทศไทยให้สำนักงานใหญ่ทราบ

** สำนักงานภูมิภาค หมายถึง สำนักงานของบริษัทข้ามชาติที่ตั้งในประเทศอื่น นอกจากประทศที่จดทะเบียนเป็นสำนักงานใหญ่ โดยไม่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศที่เข้าไปจัดตั้งเพื่อให้บริการในด้านต่างๆ ได้แก่ การติดต่อประสานงานและการกำกับการดำเนินงานของสาขาหรือบริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันแทนสำนักงานใหญ่ การให้คำปรึกษาและบริการในการจัดการฝึกอบรมและพัฒนาผลิตภัณฑ์และการวิจัยและพัฒนา โดยมีรายได้จากการบริการนั้นและไม่มีอำนาจรับคำสั่งซื้อหรือเสนอขายหรือเจรจาทำธุรกิจกับบุคคลหรือนิติบุคคลในประเทศ
ที่เข้าไปตั้ง ทั้งนี้ โดยได้รับเงินค่าใช้จ่ายในสำนักงานจากสำนักงานใหญ่เท่านั้น

*** บริษัทข้ามชาติ (สำนักงานสาขา) หมายถึง นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและเข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศอื่น

 
  การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อปฏิบัติงานในสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค  
 

 

  1. ตม. 7
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง
  3. รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
  4. หนังสือรับรองและชี้แจงตำแหน่งของผู้ยื่นคำร้องขออยู่ต่อฯ รวมทั้งคนต่างด้าวอื่นๆ ที่ปฏิบัติงานในสำนักงานนั้น ว่ามีหน้าที่อะไรและมีเหตุผลใดที่ต้องจ้างคนต่างด้าวทำหน้าที่นั้นๆ
  5. ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวหรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน
  6. หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท จำกัด , ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภ.พ. 20) บัญชีผู้ถือหุ้นบริษัท หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนจากกระทรวงพาณิชย์ หรือใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
  7. หลักฐานการชำระภาษีเงินได้ของพนักงานคนไทยและคนต่างด้าว (ภ.ง.ด. 1) เดือนล่าสุด ถ้าเป็นการยื่นคำร้องขออยู่ต่อปีต่อไปให้แสดงหลักฐานการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( ภ.ง.ด. 91) ของคนต่างด้าวในรอบปีที่ผ่านมา
  8. กรณีมีผู้ติดตาม (สามี/ภรรยา , บุตร) ให้มีหนังสือรับรองของผู้ยื่นคำร้อง ประกอบพร้อมหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ ด้วย โดยแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยสถานทูต หรือกงสุลของคนต่างด้าว
  9. เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น

** หลักเกณฑ์การพิจารณาทั่วไปต้องเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญเป็นประโยชน์ต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และประชาชน และมีการลงทุนสูง **

 
  การยื่นคำร้องขออยู่กรณีผู้ลงทุนไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท  
 

 

  1. หลักฐานรับรองการโอนเงินเข้ามาจากต่างประเทศเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท โดยคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอต้องเป็นผู้สั่งโอนเงินจากต้นทางในต่างประเทศหรือเป็นผู้รับเงินปลายทางในประเทศ
  2. หลักฐานการนำเงินเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาทไปลงทุน หลังจากวันที่โอนเงินเข้ามาแล้ว
    กรณีใดกรณีหนึ่งหรือในหลายกรณีรวมกันดังต่อไปนี้
      • ฝากเงินประเภทฝากประจำกับธนาคารของรัฐ( ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ )
      • ซื้อพันธบัตร ซึ่งออกโดยส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจทั้งนี้ต้องซื้อจากส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ หรือซื้อจากตัวแทนที่ได้รับมอบหมายจากส่วนราชการหรือรัฐ วิสาหกิจนั้น
      • ซื้อห้องชุดในอาคารชุด จากเจ้าของโครงการตามราคาที่ได้จดทะเบียนกับส่วนราชการกรมที่ดิน
      • การลงทุนซึ่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศ

เงื่อนไขการอนุญาต

คนต่างด้าวต้องถือครองการลงทุนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา หากประสงค์จะเปลี่ยนช่องทางการลงทุนต้องมีหนังสือแจ้งขออนุญาตก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงเปลี่ยนช่องทางการลงทุนได้ ทั้งนี้การเปลี่ยนช่องทางการลงทุนตามที่ได้รับอนุญาตต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

 
  การยื่นคำร้องขออยู่ต่อกรณีเพื่อใช้ชีวิตบั้นปลาย  
 

 

  1. แบบฟอร์ม ตม. 7
    - รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
    - ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
  3. หลักเกณฑ์การประกอบการขออยู่ต่อ กรณีเพื่อใช้ชีวิตบั้นปลาย
    - เป็นคนต่างด้าวสูงอายุ ตั้งแต่ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
    - ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามเข้าประเทศ
    - มีหลักฐานการเงินแสดงข้อใดข้อหนึ่งดังนี้
    • กรณีมีเงินฝากธนาคาร ไม่น้อยกว่า 800,000 บาท
      - หลักฐานบัญชีเงินฝากและหนังสือรับรองของธนาคาร ไม่น้อยกว่า 800,000 บาท ( แสดงบัญชีเงินฝากย้อนหลังไม่น้อยกว่า 3 เดือน )
    • กรณีมีรายได้จากเงินบำนาญไม่น้อยกว่าเดือนละ 65,000 บาท
      - หนังสือรับรองจากสถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศผู้ยื่นคำร้อง แสดงการมีรายได้จากเงินบำนาญหรือเงินประกันสังคมไม่น้อยกว่าเดือนละ 65,000 บาท
    • กรณีมีเงินฝาก และเงินรายได้จากบำนาญต่อเดือนคูณ 12 เดือน รวมกันไม่น้อยกว่า 800,000 บาท
      - สำเนาบัญชีธนาคาร และหนังสือรับรองการมีเงินฝากจากธนาคาร
      - หนังสือรับรองจากสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศผู้ยื่นคำร้อง แสดงการมีรายได้จากเงินบำนาญ

 
  การยื่นคำร้องขอยู่ต่อฯเพื่อรับอุปการะจากสามีสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ฯ (ภรรยาคนต่างด้าว)  
 


สามีคนสัญชาติไทย

  1. ตม. 7
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง
  3. รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
  4. ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
  5. ใบสำคัญการสมรส
  6. สำเนาทะเบียนบ้าน , บัตรประชาชนสามี
  7. สูติบัตรบุตร (ถ้ามี)
  8. บันทึกปากคำผู้ยื่นคำร้องและสามี
  9. เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น

สามีเป็นคนมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร

  1. ตม. 7
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง
  3. รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
  4. ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
  5. ใบสำคัญการสมรส
  6. สำเนาหนังสือเดินทางสามี , ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของสามี , ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ของสามี
  7. สูติบัตรบุตร (ถ้ามี)
  8. บันทึกปากคำผู้ยื่นคำร้องและสามี
  9. หลักฐานการมีเงินได้ของสามีพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น
    - สมุดบัญชีเงินฝาก
    - หนังสือรับรองจากธนาคารเจ้าของบัญชีเงินฝาก
    - หลักฐานการทำงาน , รายได้ ฯลฯ
  10. หลักฐานการเสียภาษีเงินได้ (ถ้ามี)
  11. เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
 
  การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อให้อุปการะแก่บุตรคนสัญชาติไทย (บิดา/มารดาคนต่างด้าว)  
 

 

  1. ตม. 7
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง
  3. รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
  4. ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
  5. หลักฐานแสดงการเป็น บิดา มารดา บุตร สูติบัตร หรือคำสั่งศาลให้เป็นผู้ปกครองดูแลบุตร
  6. หลักฐานแสดงฐานะทางการเงิน ดังนี้
    - บัญชีเงินฝากธนาคารในประเทศไทย , หนังสือรับรองจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชี รับรองการโอนเงินมาจากต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 400,000 บาทหรือ
    - หนังสือรับรองการทำงาน ใบอนุญาตทำงานและหลักฐานการรชำระภาษีเงินได้(ภ.ง.ด. 1 เดือนล่าสุด และ ภ.ง.ด. 91 ในรอบปีที่ผ่านมา)ไม่ต่ำกว่า 40,000 บาทหรือหากมีรายได้อื่นๆ เช่นเงินบำนาญ หรือเงินประกันสังคม ให้นำหนังสือรับรองการมีบำนาญจากสถานฑูต และหลักฐานการนำเงินจากต่างประเทศเข้ามาผ่านธนาคารโดยนำเข้าบัญชีเงินฝากในประมาณอันสมควรและสม่ำเสมอไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท
  7. บันทึกปากคำผู้ยื่นคำร้อง
  8. เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น

    * บิดามารดาคนต่างด้าวให้ความอุปการะบุตรบุญธรรมคนสัญชาติไทย ให้พิจารณาไม่อนุญาต
 
  การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อรับอุปการะจากบุตร (บิดา/มารดาคนต่างด้าว)  
 


บุตรเป็นคนสัญชาติไทย

  1. ตม. 7
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง
  3. รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
  4. ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
  5. หลักฐานแสดงการเป็น บิดา มารดา บุตร หรือสูติบัตร ทะเบียนสมรส ของบิดามารดา
  6. บันทึกปากคำผู้ยื่นคำร้องและบุตร
  7. หลักฐานฐานะทางการเงิน อาชีพ รายได้ของบุตร หรือ ของผู้รับอุปการะ
  8. เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
 
  การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อขอรับการอุปการะจากบิดา มารดา (บุตรคนต่างด้าว)  
 


บิดา มารดาเป็นคนสัญชาติไทย

  1. ตม. 7
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง
  3. รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
  4. ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
  5. หลักฐานแสดงการเป็น บิดา มารดา บุตร หรือสูติบัตร ทะเบียนสมรส ของบิดามารดา
  6. บันทึกปากคำผู้ยื่นคำร้อง และบุตร
  7. เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น

บิดา มารดาเป็นคนมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร

  1. ตม. 7
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง
  3. รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
  4. ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
  5. หลักฐานแสดงการเป็น บิดา มารดา บุตร หรือสูติบัตร ทะเบียนสมรส ของบิดามารดา
  6. หลักฐานแสดงการมีถิ่นที่อยู่ของบิดา มารดา (สำเนาหนังสือเดินทาง , ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ , ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว)
  7. บันทึกปากคำของผู้ยื่นคำร้อง และบุตร
  8. หลักฐานแสดงฐานะทางการเงิน อาชีพ และรายได้บิดามารดาพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
  9. บุตรต้องยังไม่บรรลุนิติภาวะ (ไม่เกิน 20 ปี บริบูรณ์) หรือ อยู่ระหว่างการศึกษา โดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับ หลักสูตรระดับ จำนวนปีการศึกษา และยังอยู่ในอุปการะของบิดามารดา หรือพิการจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
  10. เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น

    * บุตร สามารถเข้ามาและยื่นคำร้องขออยู่ต่อฯ เพื่ออุปการะบิดา-มารดาที่เป็นคนมีถิ่นที่อยู่ฯ ได้เพียงคนเดียว
 
  การยื่นคำร้องขออยู่ประเภทนักท่องเที่ยว  
 

 

  1. เอกสารทั่วไป... ตม. 7( คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)
    • สำเนาหนังสือเดินทาง
    • รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
    • ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
  2. เอกสารเฉพาะกรณี
    กรณีเจ็บป่วย
    • หนังสือรับรองจากโรงพยาบาล โดยให้ปรากฏคำวินิจฉัยของแพทย์ดังนี้
      • เจ็บป่วยเป็นโรค หรืออะไร
      • เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางไกลหรือไม่ อย่างไร
      • ต้องรักษาตัว หรือไม่สามารถเดินทางไกล นานเท่าใดแต่เมื่อใด เป็นต้นไป
  3. การประทับตราในหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง
  • กรณีคนต่างด้าวยื่นคำร้องขออยู่ต่อในครั้งแรกจะประทับตราอนุญาตให้อยู่ต่อ 30 วัน นับแต่วันที่การได้รับอนุญาตสิ้นสุดลง ยกเว้นบุคคลสัญชาติ ศรีลังกา อินเดีย ปากีสถาน อิหร่าน บังคัลาเทศ เนปาล ไนจีเรีย โตโก และอูกานดา เมื่อยื่นคำร้องขออยู่ต่อในครั้งแรกให้ประทับตราแจ้งให้คนต่างด้าวเดินทางออกนอกราชอาณาจักรภายใน 7 วัน และพิจารณาเสนอในทางไม่อนุญาต
  • กรณีคนต่างด้าวยื่นคำร้องขออยู่ต่อไปอีกในครั้งที่สอง เมื่อคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรมาครบ 90 วันแล้ว
    • กรณีมีเหตุจำเป็นและหลักฐานแสดง พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับตรานัดให้คนต่างด้าว มารายงานตัวเพื่อฟังผลการพิจารณาเป็นเวลา 15 – 30 วัน นับแต่วันที่รับคำร้อง ( ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่จะได้รับอนุญาต) ในระหว่างรอฟังผลการพิจารณา ให้คนต่างด้าวผู้นั้นอยุ่ในราชอาณาจักรไปพลางก่อนได้
    • กรณีที่ไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือไม่มีหลักฐานมาแสดงให้ประทับตรานัดคนต่างด้าว มารายงานตัว เพื่อฟังผลการพิจารณาเป็นเวลา 15 วัน นับแต่วันที่รับคำร้อง ในระหว่างรอฟังผลการพิจารณา ให้คนต่างด้าวผู้นั้นอยุ่ในราชอาณาจักรไปพลางก่อนได้
 
  การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเนื่องจากเหตุจำเป็นอื่นๆ (ไม่จำกัดประเภทตรวจลงตรา)  
 


กรณีทั่วไป

  1. ตม. 7
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง
  3. รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
  4. ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
    กรณีเจ็บป่วย
    • หนังสือรับรองจากโรงพยาบาล โดยให้ปรากฏคำวินิจฉัยของแพทย์ดังนี้ *
      • เจ็บป่วยเป็นโรค หรืออะไร
      • เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางไกลหรือไม่ อย่างไร
      • ต้องรักษาตัว หรือไม่สามารถเดินทางไกล นานเท่าใดแต่เมื่อใด เป็นต้นไป

กรณีหนังสือเดินทาง หรือทรัพย์สินที่เป็นปัจจัยสำคัญในการเดินทางสูญหาย

    • สำเนาประจำวันรับแจ้งเหตุ
    • เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองจากสถานทูตที่มีสำเนาหลักฐานการเดินทางเข้ามาและได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร(กรณี หนังสือเดินทางสูญหาย)

กรณีเป็นผู้กล่าวหา หรือผู้เสียหาย ผุ้ต้องหา จำเลย หรือพยาน

    • หนังสือรับรองจากศาล อัยการ หรือ หัวหน้าส่วนราชการตำรวจที่มีอำนาจในการสอบสวน

กรณีมีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตกับคนสัญชาติไทย

    • หลักฐานแสดงการเป็นบุตรคนสัญชาติไทย หรือความเคยเป็นคนสัญชาติไทย
    • เป็นการยื่นคำร้องขอยู่ต่อฯ เพื่อ
      • อยู่ในความอุปการะของบิดามารดา หรือญาติคนสัญชาติไทย
      • เยื่ยมญาติ
      • กลับเข้ามาอยู่ในประเทศไทย

เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น

 
     
 
ตารางเงินได้ท้ายคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 606/2549
ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2549 ตามหลักเกณฑ์ข้อ 7.1 (2)
 
 

สัญชาติ

รายได้ขั้นต่ำ

1. ประเทศในทวีปยุโรป และทวีปออสเตรเลีย, ประเทศแคนาดา, ประเทศญี่ปุ่น, และประเทศสหรัฐอเมริกา

50,000 บาท/เดือน

2. ประเทศเกาหลีใต้, ประเทศสิงคโปร์, ใต้หวัน, และฮ่องกง

45,000 บาท/เดือน

3. ประเทศในทวีปเอเชีย และทวีปอเมริกาใต้, ประเทศในเขตยุโรปตะวันออก, ประเทศในเขตอเมริกากลาง ประเทศเม็กซิโก, ประเทศตุรกี, ประเทศรัสเซีย, และประเทศแอฟริกาใต้

35,000 บาท/เดือน

4. ประเทศในทวีปแอฟริกา, ประเทศกัมพูชา, ประเทศพม่า, ประเทศลาว, และประเทศเวียดนาม

25,000 บาท/เดือน

 
 
Download เอกสารที่จำเป็น : คำขออยู่ต่อ (ตม.7) | คำขอกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกครั้ง ตม.8 (Re-Entry) | แจ้งอยู่เกิน 90 วัน | หนังสือรับรองคนต่างด้าวเข้าทำงาน | รับทราบเงื่อนไข | ชี้แจงความจำเป็น | เปลี่ยนเล่มหนังสือเดินทาง | ตาราง 90 วัน |
 
     

___________________________________________________________
| หน้าแรก | บริการ | ราคาและรายละเอียดใบเสนอราคา |
| ใบอนุญาตทำงาน | วีซ่าอยู่ในราชอาณาจักร 1 ปี | การขอตรวจลงตราจากต่างประเทศ |
| การขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา(วีซ่า)ในประเทศไทย | ติดต่อ |

Premier Solicitor Office
954/3 CHAN ROAD (SOI WAT PAI-NGERN), BANGKLO, BANGKORLAEM BANGKOK 10120 THAILAND
Tel / Fax: +66 (0) 2212-9100 Mobile +66 (0) 81 567-0800 E-mail : issa_th@yahoo.com (Khun Issara)

 

copyright © 2008 Premier Solicitor